Page 689 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 689
S12
ทางการแพทย์ในตำหรับยาแผนไทยด้วย สำหรับผู้ป่วยประคับประคองที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสรรคบุรี
พบว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆจากข้อมูลของศูนย์ประคับประคองโรงพยาบาลสรรคบุรีปี พ.ศ.2563-2565
มีจำนวนผู้ป่วย 82, 93 และ 128 คนตามลำดับ ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การดูแลแบบประคับประคองแบ่งเป็นผู้ป่วย
Non Cancer ร้อยละ 62.77 และผู้ป่วยCancer ร้อยละ 37.23 ผู้ป่วยจะมีอาการรบกวน ได้แก่ อาการปวด
ร้อยละ 67.24 อาการเหนื่อย ร้อยละ 22.41 เป็นต้นซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลโดยมีการวาง Advance care plan
มีการติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง และได้รับการจัดการอาการรบกวนต่าง ๆ โดยการใช้ยาในกลุ่ม strong opioid
ร้อยละ 60.67 จากการสอบถามผู้ป่วยประคับประคองหลายราย พบว่า มีประสบการณ์การใช้กัญชามาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นกัญชาเองแล้วนำใบมาต้มดื่ม หรือซื้อมารับประทานเองทั้งรูปแบบแคปซูล และน้ำมัน
กัญชา ด้วยความเชื่อที่ได้ยินต่อๆกันมาว่า กัญชาสามารถรักษาโรคที่พวกเขาเผชิญอยู่ในตอนนี้ให้หายขาดได้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1 เพื่อศึกษาอาการปวดของผู้ป่วย Palliative care
2.2 เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดก่อนและหลังการได้รับน้ำมันกัญชา
2.3 เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันกัญชา
2.4 เพื่อกระตุ้นการใช้น้ำมันกัญชาในกลุ่มองค์กรแพทย์
วิธีการศึกษา รูปแบบการวิจัยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre Experimental
Research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน – หลัง (One group pre-posttest design)
ผลการศึกษา
การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้นเปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน – หลัง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
อาการปวดของผู้ป่วย Palliative care เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดก่อนและหลังการได้รับน้ำมันกัญชาและ
เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันกัญชา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ป่วย Palliative care
ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ในเขตอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
ไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ระดับความปวด และแบบวัดความพึงพอใจในกิจกรรมหลังการ
ใช้น้ำมันกัญชา(อ.เดชา) ในกลุ่มผู้ป่วย Palliative care เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
ระหว่างเดือน มิถุนายน 2566 – กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน (Inferential statistic) ได้แก่ Wilcoxon test ผลการวิจัย
มีดังต่อไปนี้