Page 692 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 692
S15
ประสิทธิศักย์และความปลอดภัยจากการใช้ยาศุขไสยาศน์ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ
นางชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย, นางสาวศิริพร ซ้ายสนิทธรรม, นางสาวสิริมนต์ จิตแกล้ว,
นางสาวพชรภัทร ธงศิลา, นางชุดาภา อินประสงค์ และนางสาวคณางค์ ถูกฤทัย
เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะนอนไม่หลับเป็นปัญหาการนอนที่พบบ่อย ซึ่งพบว่าประชากรในวัยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30
ประสบกับภาวะนี้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต บางคนอาจเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่มีบางส่วนที่มีภาวะ
นอนไม่หลับเรื้อรัง และมีมากถึงร้อยละ 10 ที่ภาวะนอนไม่หลับนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน รวมไปถึงส่งผลกระทบ
ต่อการใช้ชีวิตประจำวันจนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder) ซึ่ง “ศุขไสยาศน์”
เป็นตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัย ในการใช้
ยาศุขไสยาศน์ ยังมีไม่มาก ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศกฎหมายฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ใช้กัญชา
เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้โดยตำรับยาศุขไสยาศน์เป็นตำรับยาที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ให้การรับรอง ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้ยาศุขไสยาศน์ในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
เพื่อศึกษาประสิทธิศักย์และความปลอดภัยในการใช้ยา เปรียบเทียบคุณภาพการนอน เปรียบเทียบคุณภาพชีวิต
และติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย ก่อนและหลังการได้รับการรักษาภาวะนอนไม่หลับด้วยยาศุขไสยาศน์
รวมถึงแนวโน้มการลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน
วัตถุประสงค์การศึกษา
2.1 เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอนของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับการรักษาภาวะนอนไม่หลับ
ด้วยยาศุขไสยาศน์
2.2 เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับการรักษาภาวะนอนไม่หลับ
ด้วยยาศุขไสยาศน์
2.3 เพื่อศึกษาและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอาการนอนไม่หลับ
จากยาศุขไสยาศน์
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสังเกตไปข้างหน้า (Prospective observational study) เพื่อประเมิน
ประสิทธิศักย์และความปลอดภัยจากการใช้ยาศุขไสยาศน์ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ
เครื่องมือการวิจัย
1. แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล
2. แบบวัดความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต (Suanprung Stress Test: SPST-20) จำนวน 20 ข้อ
โดยสอบถามเหตุการณ์ระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
3. แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย (Thai version of the Pittsburgh Sleep
Quality Index : T-PSQI)
4. แบบประเมินคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L)
5. แบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Naranjo Algorythm)
เกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 9 ข้อ ,เกณฑ์การคัดออก คัดออก จำนวน 5 ข้อ