Page 693 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 693

S16

                         ขั้นตอนการศึกษา
                         1. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับและได้รับการรักษาด้วยยาศุขไสยาศน์

                         2. ผู้วิจัย/ผู้ช่วย เก็บข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการติดตามอย่างใกล้ชิด ของการรักษา
                         3. อาสาสมัครนัดกลับมาติดตามผลการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน/แพทย์แผนไทย ผู้วิจัย/ผู้ช่วยวิจัย
                  ทำการสัมภาษณ์อาสาสมัคร ครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 เพื่อประเมินประสิทธิผลเบื้องต้นของการรักษา
                         4. อาสาสมัครจะได้รับประทานยาศุขไสยาศน์ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ยาจาก รพ.เสาไห้ฯ ขนาด 500 mg/cap

                     วันที่                                   การปฏิบัติการ

                    วันที่ 1     •  ประเมินแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล

                                 •  ประเมินแบบวัดความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต

                                 •  ประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย

                                 •  เริ่มแรกรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

                    วันที่ 7     •  ประเมินแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล

                                 •  ประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย

                                 •  ประเมินแบบประเมินคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L)

                                 •  หากมีอาการแพ้ยาประเมินแบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Naranjo

                                     Algorythm) และ พิจารณาปรับเปลี่ยนยา อาจคงรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล
                                     วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน หรือเพิ่มเป็นรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล

                     วันที่      •  ประเมินแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล

                   14,21,28      •  ประเมินแบบประเมินคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L)

                                 •  พิจารณาปรับเปลี่ยนยา อาจคงรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

                                     หรือเพิ่มเป็นรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หรือเพิ่มเป็น 3 แคปซูล
                  ระยะเวลาในการวิจัย

                         พฤษภาคม ถึง กันยายน 2566 ระยะเวลาในการรักษาและติดตามอาการต่อผู้ป่วย 1 ราย  ไม่เกิน 30 วัน

                  สถานที่ศึกษาวิจัย
                         โรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดสระบุรี จำนวน 12 แห่ง


                  ผลการศึกษา
                          ข้อมูลทั่วไป

                         มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมด 62 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 14 ราย (22.58%), เพศหญิง 48 ราย

                  (77.42%) อายุเฉลี่ย 53.74 ปี มีโรคประจำตัว 36 ราย (58.06%)
                         ก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย

                             มีความเครียดระดับน้อย 9 ราย (14.52%), ปานกลาง 34 ราย (54.84%), สูง 13 ราย (20.97%) และ

                   รุนแรง 6 ราย (9.67%) และค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย (BMI) 25.39
   688   689   690   691   692   693   694   695   696   697   698