Page 694 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 694
S17
คุณภาพการนอนหลังการรักษา
(1) การประเมินคุณภาพการนอนหลับ มีระดับคะแนน PSQI ไม่เปลี่ยนแปลง จำนวน 1 ราย
(อายุ 47 ปี, ความเครียดอยู่ในระดับสูง, คะแนน PSQI 16, มีโรคประจำตัว HT, DLP, นอนไม่หลับมา 2-3 ปี
และได้ทำการปรับยาจนรับประทานครั้งละ 3 แคปซูล แล้วยังไม่หลับ)
(2) การประเมินคุณภาพการนอนหลับหลังการได้รับยา มีระดับคะแนน PSQI เข้าเกณฑ์คุณภาพ
การนอนหลับที่ดี จำนวน 28 ราย (45.16%)
(3) การประเมินคุณภาพการนอนหลับหลังการได้รับยา มีระดับคะแนน PSQI ลดลงจาก
ก่อนการได้รับยา จำนวน 58 ราย (93.55%)
คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพหลังการรักษา
(1) การประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพหลังการได้รับยา มีระดับคงที่ จำนวน 24 ราย (38.71%)
(2) การประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพหลังการได้รับยา มีระดับดีขึ้น จำนวน 36 ราย (58.06%)
อาการไม่พึงประสงค์
(1) พบอาการข้างเคียงจากยา จำนวน 9 ราย (ร้อนคอ 1 ราย, ร้อนขึ้นหน้า หน้าแดง หายใจไม่ออก
1 ราย, ปากแห้ง คอแห้ง 5 ราย, ใจสั่น 1 ราย, วิงเวียนศีรษะ 1 ราย)
(2) ออกจากงานวิจัยเนื่องจากไม่สามารถทนอาการข้างเคียง (ร้อนขึ้นหน้า หน้าแดง หายใจไม่ออก)
จากยาได้ 1 ราย, ไม่รับประทานยาศุขไสยาสน์ตามที่กำหนด 1 ราย , รับประทานไม่ต่อเนื่องทุกวัน 1 ราย
พบผู้ป่วย 36 ราย (58%) มีแนวโน้มที่ดี ไม่ต้องทานยานอนหลับ
อภิปรายผล
ตำรับยาศุขไสยาศน์ สามารถแก้ไขปัญหาภาวะการนอนหลับไม่ดีของกลุ่มตัวอย่างได้ดี โดยประเมินจาก
คะแนนคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น คะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ 5 มิติและภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นรวมไปถึง
มีความปลอดภัยกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งตำรับยาศุขไสยาศน์อาจจะเป็น
ทางเลือกใหม่สำหรับใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาอาการนอนหลับได้ แต่ควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้า
(prospective study) แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ในผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มใหญ่ขึ้น
และระยะเวลาในการรักษานานขึ้น เพื่อยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา
สรุปและข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมกลุ่มผู้ป่วยนอนไม่หลับ ระหว่างการใช้ยาศุขไสยาศน์และยาแผนปัจจุบัน