Page 701 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 701
S24
ผลการใช้ยาปรุงเฉพาะราย “ยาหอมเทพรัตน์” ลดอาการข้างเคียงจากการใช้น้ำมันกัญชา
และตำรับยาที่มีกัญชาผสมในกลุ่มผู้ป่วย Intermediate care และ Palliative care
(The Effects of using specific medicines “Yahhomdeparat” reduces side effects from the
use of cannabis oil and medicines containing cannabis in patients.)
จักรกฤษณ์ ตะกรุดแจ่ม* และศักดิ์ชัย แผ้วสูงเนิน
โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) จำนวนเตียงที่ให้บริการ
จำนวน 290 เตียง ซึ่งผู้รับบริการในปีงบประมาณ 2566 ที่ได้รับการรักษาด้วยกัญชาทั้งหมด 115 ราย
เป็นกลุ่ม Palliative care 46 ราย จากกลุ่มผู้ป่วย Palliative care ทั้งหมด 361 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.74
รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ป่วย Intermediate care ที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟื้นฟู จำนวน 39 ราย จากผู้ป่วย
ทั้งหมด 2,628 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.48 ปริมาณผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยกัญชา ทั้งสองกลุ่มรวม 85 ราย
จากผู้รับการรักษาด้วยกัญชาทั้งหมด 115 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.91 และมีผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้
ยากัญชา 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.17
ซึ่งเป็นปัญหาต่อการรับการรักษาต่อเนื่องด้วยกัญชา และยังไม่มีวิธีระงับหรือบรรเทาอาการข้างเคียงได้
ในทันที หากแต่มีการให้คำแนะนำแต่ด้วยความไม่พร้อมในการปฏิบัติตาม จึงทำให้เกิดอันตรายและ
ความไม่สบายใจต่อการรักษาด้วยกัญชา แพทย์แผนไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคลินิกกัญชาทางการแพทย์จึงเห็น
ปัญหาสำคัญในการในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ จึงได้นำสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทย
แนะนำ และใช้สมุนไพรที่อยู่ในกลุ่มยาหอมในบัญชียาหลักแห่งชาติ มาแต่งตำหรับยาปรุงเฉพาะราย ภายใต้
ความรู้ในการตั้งตำรับยาทางการแพทย์แผนไทย ปรับปรุงวิธีใช้เพื่อให้สะดวกต่อการบรรเทาอาการข้างเคียง
จากการใช้ยากัญชาทางการแพทย์ในทันที ส่งเสริมให้ผู้ใช้กัญชาปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในขณะรับการ
รักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์
วัตถุประสงค์การศึกษา
ลดอัตราผู้ป่วย Intermediate care และ Palliative care ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยากัญชา
ร้อยละ 50 ภายใน 1 เดือน (1 ตุลาคม – 31 ตุลาคม 2566 )
วิธีการศึกษา
การศึกษา Qusi-Experiment research ใช้การคำนวณสถิติ paired t-test เลือกกลุ่มตัวอย่างเจาะจง
(purpose sampling) ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก
ระยะที่ 1 วางแผนการดำเนินงาน ประชุมทีม สำรวจปริมาณผู้รับการรักษากัญชาทางการแพทย์ที่มี
ภาวะแพ้จากการใช้กัญชาทางการแพทย์ ปรับแบบฟอร์ม ESAS (Edmonton Symptom Assessment
System) เพื่อติดตามผล และตั้งตำรับยาปรุงเฉพาะราย “ยาหอมเทพรัตน์” ตามหลักเภสัชกรรมแผนไทย