Page 702 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 702
S25
ระยะที่ 2 ปฏิบัติการ - เริ่มสำรวจโดยการใช้เกณฑ์คัดเข้า(Inclusion criteria) : 1) เป็นผู้ป่วย
Intermediate/Palliative care 2) ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจาการใช้กัญชาทางการแพทย์ในระยะเวลา 1 เดือน
เกณฑ์คัดออก (Exclusion criteria) 1) ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หัวใจทุกชนิดและภาวะกลืนลำบาก 2) ผู้ป่วย
มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้ 3) ผู้ป่วยไม่ยินยอมใช้ยาหอมเทพรัตน์ โดยมีผู้ที่เข้าเกณฑ์ข้างต้น 30 ราย
- นำยาหอมเทพรัตน์ที่ได้ตังตำรับได้ดังนี้ ดอกมะลิ,ผิวส้มซ่า อย่างละ 140 กรัม เหง้าขิง,ผลมะนาว,เปราะหอม
,อบเชย อย่างละ 45 กรัม จันทน์แดง 60 กรัม นำมาบดละเอียดและแบ่งใส่ซองซองละ 1 กรัม
- ติดตามอาการก่อนการรับประทานยาปรุงเฉพาะราย “ยาหอมเทพรัตน์” โดยใช้ ESAS ประเมินก่อนการ
รับประทานยา และติดตาม ทุกสัปดาห์ (ทุกวันศุกร์) จนครบ 1 เดือนและเปรียบเทียบผลก่อนหลังใช้ยา
ระยะที่ 3 การตรวจสอบผลการดำเนินงาน นำยาหอมเทพรัตน์ ที่บรรจุไว้จ่ายให้ผู้ป่วยคู่กับกัญชา
ทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยใช้ โดยให้รับประทานหลังอาหาร 15 นาที หรือหลังจากการใช้กัญชา 15 นาที โดยมีการ
โทรติดตามอาการและประเมินอาการอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมิน ESAS ทุกวันศุกร์จนครบ 4 สัปดาห์
ระยะที่ 4 ตรวจสอบและปรับปรุงคู่มือเพื่อลดปัญหาการใช้ยา
ผลการศึกษา
กลุ่มผู้ป่วย Intermediate care และ Palliative care ที่มีผลข้างเคียงจากการใช้น้ำมัน
กัญชาทางการแพทย์ที่ผ่านการคัดกรองทั้งหมด 30 ราย จากกลุ่มผู้ป่วย 85 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.29
ซึ่งผู้ที่มีอาการปากแห้งคอแห้งสูงที่สุดอันดับ 1 จำนวน 20 ราย อาการมึนศีรษะรองลงมา 8 ราย คลื่นไส้
อาเจียน 6 ราย อ่อนเพลีย 5 รายเหนื่อยหอบ 2 ราย โดยแบบประเมินESAS (Edmonton Symptom
Assessment System) ก่อน-หลังรับประทานยาหอมเทพรัตน์ 1 เดือน ได้ผลดังนี้
แบบประเมินESAS (Edmonton Symptom Assessment System)
9
8
7
6
ระดับอาการ 5
4
3
2
1
0
ปากแห้งคอแห้ง มึนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ
ก่อน 6.53 7.9 4.83 4.2 4.63
หลัง 1.13 1.57 1.6 1.73 2.2
อภิปรายผล
เมื่อดำเนินเก็บข้อมูลการใช้ยอหอมเทพรัตน์ครบ 4 สัปดาห์ อาสาสมัครทั้ง 35 คน ที่เข้าเกณฑ์การ
คัดเข้า ปฏิบัติตามคู่มือการวิจัยอย่างเคร่งครัด ไม่มีการคัดออกระหว่างการวิจัย จึงได้ผลค่าเฉลี่ยโดยรวม
ก่อนการรับประทานยาหอมเทพรัตน์ต่ออาการปากแห้งคอแห้ง ( X ± S.D. 6.53±1.01) แปลผลได้ มีอาการ