Page 104 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 104
B32
แผนภาพ โมเดลระบบการรับส่งต่อด้านมะเร็งแบบครบวงจรโรงพยาบาลพุทธโสธร [BSH Onco One
System (BOOS) model]
เครือข่ายมะเร็ง
Refer out (Cancer Network)
การรับส่งต่อ
Cancer referral center ผู้ป่วยและ
ข้อมูล
& Data center รวมทั้งการ
นัดหมาย
ผู้ป่วยแบบ
ไร้รอยต่อ
Refer in
โรงพยาบาลพุทธโสธร
(Buddhasothorn hospital)
เครื่องมือที่ใช้ในการด าเนินงานได้แก่ TCB 2023, Line
ผลการนำไปใช้ประโยชน์
หน่วยมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพุทธโสธรเริ่มดำเนินการนำ BOOS model มาใช้ในการรับส่งต่อผู้ป่วย
โรคมะเร็งตั้งแต่ปี 2565-ปัจจุบัน ผู้ป่ วยได้รับ การส่งตัวไปรักษาพยาบาลอื่น (refer out)
ทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชนใน cancer network และใช้ระบบ BOOS เพื่อส่งเข้ามารักษาในโรงพยาบาล
พุทธโสธร (refer in) ใน visit เดียว ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยในผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการฉายรังสี ผ่านการนัด
หมายโดยใช้ระบบ BOOS ทั้งหมดไม่เกิน 6 สัปดาห์ ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งตัวเพื่อนัดหมายการตรวจสแกน
กระดูกทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Radionuclide Bone Scan) เฉลี่ยไม่เกิน 7 วัน
จากผลการนำไปใช้จะพบว่า BOOS model เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มี
ประสิทธิภาพและรวดเร็ว ลดความยุ่งยากซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการส่งตัวผู้ป่วยเนื่องจากโรคมะเร็งเป็น
โรคที่มีความซับซ้อนและจำเป็นต้องใช้ข้อมูลประวัติการรักษาในอดีตประกอบการวางแผนการรักษาในปัจจุบัน
เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ผู้ทำการรักษา
ปัจจุบันทางหน่วยมะเร็งวิทยากำลังพัฒนาออกแบบโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับส่งต่อ
ผู้ป่วยในระบบ BOOS ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค ทิศทางการพัฒนาระบบ
การรับส่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป