Page 100 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 100

B28


                                       “CLABSI in Chemotherapy ลดได้ ไม่มี HARM”


                                                      นางกานต์ธิชา  กำแพงแก้ว และ นางสาวกรรณพร  เอกคณาลักษมี
                                                                              โรงพยาบาลนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีจำนวนมากขึ้น และยาเคมีบำบัดที่ต้อง
                  ได้รับจำนวนหลายครั้ง และเป็นยาเคมีบำบัดที่ทำลายเนื้อเยื่อ (Vesicant) นอกจากนี้ หลอดเลือดตามร่างกาย

                  ที่ผ่านการให้ยาเคมีบำบัดหลายครั้ง เกิดการตีบ แข็ง การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central Line)
                  เพื่อให้ยาเคมีบำบัดแทนการให้ยาทางหลอดเลือดทั่วไปตามร่างกาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกเลือกใช้ และเป็น
                  หัตถการที่ทำมากขึ้นในปัจจุบัน และผู้ป่วยบางรายต้องใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางเมื่อกลับบ้าน เช่น
                  PICC line จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญตามมาคือ การติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระแส
                  โลหิตได้โดยตรง ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงและและมีอัตราการตายสูง เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งมีระบบภูมิต้านทานต่ำ

                         หอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาล
                  นครปฐม ให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด และผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคมะเร็ง
                  เช่น Neutropenia, Anemia, Infection เป็นต้น ในปีงบประมาณ 2566 มีผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือดดำ

                  ส่วนกลาง (Central line) เพื่อให้ยาเคมีบำบัด ยาปฏิชีวนะ สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด รวม 266
                  วันใส่สายสวน และพบอัตราการติดเชื้อ CLABSI สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้อยละ 20.83, 37.04 ในเดือน
                  ตุลาคม และธันวาคม 2565 ตามลำดับ และสูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงพยาบาลนครปฐม (เป้าหมาย ≤ 1) โดย
                  เมื่อวิเคราะห์สาเหตุการติดเชื้อ CLABSI พบว่าเกิดจาก กระบวนการดูแล สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

                  ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และการติด
                  เชื้อ CLABSI ยังเป็น 1 ใน 13 มาตรฐานสำคัญจำเป็นปลอดภัยที่โรงพยาบาลนครปฐมกำหนด โดยต้องมีการ
                  กำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการศึกษา Evidence Base Practice และ
                  นำมาเป็นแนวทางการพัฒนา และกำหนดเป็นแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ CLABSI และเป็นมาตรฐานใน

                  การดูแลผู้ป่วย นำลงสู่การปฏิบัติในหอผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายลดอัตราการติดเชื้อ CLABSI ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่
                  ได้รับยาเคมีบำบัดและไม่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Event) ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต จึงได้
                  ทำการศึกษาเรื่อง “CLABSI in Chemotherapy  ลดได้ ไม่มี HARM” ขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อลดการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central Line-
                  Associated Bloodstream Infection: CLABSI) ในหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด

                  วิธีการศึกษา
                         3.1 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการติดเชื้อ CLABSI ในหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด โรงพยาบาล
                  นครปฐม พบว่า เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Burkholderia

                  cepacia ซึ่ง Burkholderia cepacia เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่พบตามธรรมชาติในดินเปียกและพืชที่เน่าเปื่อย
                  ซากหญ้าแห้ง เมื่อวิเคราะห์ที่มาของเชื้อโรค มีโอกาสติดมากับรองเท้าผู้ป่วยและญาติ รวมถึงผู้มาเยี่ยมและ
                  บุคลากรจากภายนอกหน่วยงาน เช่น logistic ส่งยา เอ็กซเรย์ เปลนอน รถนั่ง เป็นต้น จึงกำหนดให้มีการ
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105