Page 109 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 109

B37





                  ตารางแสดงตัวชี้วัดตามผลการศึกษา
                                  ตัวชี้วัด                  เกณฑ์       ปี 2563     ปี 2564       ปี 2565

                  1.ร้อยละของระยะเวลาการรอคอยผลการ        ≥ ร้อยละ 80     92 %         97 %         98 %
                  ตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
                  ไม่เกิน 2 สัปดาห์

                  2.ร้อยละของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษา  ≥ ร้อยละ 80   100 %       91%          95%
                  ด้วยการผ่าตัด ภายใน 4 สัปดาห์
                  3.ร้อยละของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษา  ≥ ร้อยละ 80   81 %        85 %           89 %

                  ด้วยยาเคมีบำบัด ภายใน 6 สัปดาห์
                         1. จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยพบว่า ปี 2563,2564,2565 ผู้ป่วยได้รับการรักษาตาม
                  ระยะเวลาที่กำหนด คือ ระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งไม่เกิน 2 สัปดาห์
                  ร้อยละ 92,97,98  ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดภายใน 4 สัปดาห์ ร้อยละ 100 ,91,95  ผู้ป่วย

                  มะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดภายใน 6 สัปดาห์ ร้อยละ 81,85,89 ตามลำดับ
                         2. ปรับรูปแบบบริการผู้ป่วยรับยาเคมีบำบัดแบบ one stop service ลดระยะเวลาให้บริการจาก 12 ชม.
                  เหลือ 8 ชม.

                   การอภิปรายผล

                         ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่ไปรับการตรวจและได้ผลวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นมะเร็งจาก
                  โรงพยาบาลอื่นแล้วขอมารับยาเคมีบำบัดใกล้บ้านแต่ด้วยการตัดสินใจในการเข้ารับการรักษาล่าช้าจึงมีผลต่อ
                  การรอคอยให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่รอเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะหลังผ่าตัด อาจมีแผลติดเชื้อ,
                  ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ผ่าน จึงมีผลต่อการรอคอยให้ยาเคมีบำบัด เนื่องด้วยสถานที่และเตียงมีจำกัด

                  ในการรับผู้ป่วยเพียง 5 รายต่อวัน การนัดผู้ป่วยเพื่อมารับยาเคมีบำบัดอาจต้องเลื่อนวันให้ยาออกไป หากวัน
                  นั้นเตียงเต็ม ผู้ป่วยขอเลื่อนวันนัดเข้ารับการรักษาก็มีผลต่อระยะการรอคอยเช่นกัน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         แม้จะพบว่าผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานและเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ป่วย
                  ต้องไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้ยาเคมีบำบัด เช่น ภาวะหัวใจวาย, ภาวะ Hypersensitivity, และภาวะ

                  Extravasation  ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยผ่านการอบรมให้ยาเคมีบำบัดตามมาตรฐานก็เป็น
                  สิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันไป และการติดตาม 5 years Survival หลังการรักษาก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพ
                  การรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงบุคลลากรที่ให้การดูแลรักษาพยาบาล
                  ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดก็ต้องมีความปลอดภัยจากการให้บริการด้วยเช่นกัน
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114