Page 101 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 101

B29


                  เปลี่ยนรองเท้าผู้ป่วย ญาติและผู้เข้าเยี่ยม (กำหนดเวลาการเยี่ยมและการเฝ้าไข้ ตามมาตรการของโรงพยาบาล
                  นครปฐม) และบุคลากรจากภายนอกหน่วยงาน
                         3.2 ทบทวน วิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง

                         3.3 ประเมินผลการล้างมือของบุคลากรภายในหน่วยงานทุกคน ในปีงบประมาณ 2565 – 2566 โดย
                  พบว่า ขั้นตอนการล้างมือที่ปฏิบัติน้อยที่สุดได้แก่ การล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 85 และขั้นตอน
                  การล้างมือที่ปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 96
                         3.4 ศึกษาผลงานวิจัย และหลักฐานเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกัน/ลดการติด
                  เชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด (Central Line-Associated Bloodstream

                  Infection: CLABSI) ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ
                         3.5 ออกแบบกิจกรรมการพัฒนา โดยใช้แนวคิด DALI  พัฒนาแนวทางการป้องกัน/ลดการติดเชื้อ
                  CLABSI ในหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด ตามมาตรฐานของวิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) วงล้อที่ 1 และ

                  พัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ CLABSI ในหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดย
                  เป็นการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement: CQI) วงล้อที่ 2






                                -

                         3.6  ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด CLABSI สำหรับหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัด
                  โรงพยาบาลนครปฐม โดยการเปรียบเทียบขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางแบบเดิมและแบบที่
                  ปรับปรุงใหม่  และจัดทำ one page แนวทางปฏิบัติฯ ติดไว้ที่รถ Treatment ของพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน
                         3.7 จัดทำแบบแบบนิเทศการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางเพื่อป้องกันการเกิด CLABSI และ

                  บันทึกผลการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ CLABSI โดยหัวหน้าเวรเช้าทุกวันในแบบนิเทศที่สร้างขึ้นจาก
                  Evidence Base Practice

                  ผลการศึกษา
                         - อัตราการติดเชื้อ CLABSI ในหอผู้ป่วยมะเร็งและเคมีบำบัดรายเดือน โดยผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
                  สามารถลดอัตราการติดเชื้อ CLABSI จาก 20.83, 37.04 ในเดือนตุลาคม และธันวาคม 2565 เป็น 0 ในเดือน

                  มกราคม ถึงกันยายน 2566
                         - ร้อยละการปฏิบัติตามแนวทาง CLABSI BUNDLE ที่สร้างขึ้นใหม่ โดยวิเคราะห์ร้อยละของการปฏิบัติ
                  ตามแนวทางฯ รายข้อ พบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางฯ  ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 98.2

                  อภิปรายผล
                         ในการศึกษาครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ
                  จากสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ที่มีใช้ร่วมกันทุกหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม ตาม Work
                  Instruction โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดยา จากเดิมใช้ 70%

                  แอลกอฮอล์เปลี่ยนไปเป็น 2% chlorhexidine in 70% alcohol ซึ่งมีรายงานพบว่า สามารถลดการเกิด
                  CLABSI ได้อย่างดี รวมทั้งการเปลี่ยนชุดให้สารละลาย และส่วนประกอบของเลือดทุก 24 ชั่วโมง การเปลี่ยน
                  dressing ทุก 5 วัน กรณีใช้ Tegaderm ซึ่งเป็น semipermeable dressing ร่วมกับ antibiotic gel
                  กระบวนการพัฒนาพยาบาลให้เข้าใจและปฏิบัติกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ใช้
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106