Page 107 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 107

B35


                         ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด รพร.สว่างแดนดิน


                                                เธียรรัตน์ บุญทรง พ.บ.,ปาริชาต คุณวงศ์ พย.บ.,สุนทรียา จันทร์ยิ้ม พย.บ.
                                                            โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน เขตสุขภาพที่ 8

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                            เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน ลดความแออัด และลดระยะเวลารอ
                  คอย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 320 เตียง  เปิดบริการรับผู้ป่วย

                  สาขามะเร็ง(ศัลยกรรม) 1 เม.ย.62 จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งในปีงบประมาณ 2559 - 2561 พบว่าผู้ป่วยมะเร็ง
                  218,199 และ 225 รายตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เดิมผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต้อง
                  เดินทางไปรักษาต่อ รพศ.สกลนครหรือศูนย์มะเร็งอุดร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากอำเภอสว่างแดนดินประมาณ 100

                  กม.ทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษา มะเร็งเกิดการลุกลามมากขึ้น หรือผู้ป่วยบางรายก็ไม่ไปรักษาต่อเนื่องจาก
                  ความยากลำบากในการเดินทาง กลุ่มงานศัลยกรรมจึงเปิดให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวาร
                  หนัก รับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป โดยแยกเป็นหน่วยเคมีบำบัด  5 เตียง แต่เนื่องจากผู้ป่วยมี
                  ระยะเวลารอคอยในการรักษาล่าช้า ไม่ได้รับการรักษาตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงขั้นตอนตั้งแต่ผู้ป่วยมายื่น
                  บัตรจนถึงรับยาเคมีบำบัดใช้เวลานาน กลุ่มงานศัลยกรรมพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

                  เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ดังนี้
                             1.1 ระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งไม่เกิน 2 สัปดาห์ > 80%
                             1.2 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยมะเร็งไม่เกิน 2 สัปดาห์ > 80%

                             1.3 ผู้ป่วยมะเร็งได้รับเคมีบำบัดหลังวินิจฉัย 6 สัปดาห์ > 80%
                         2. พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยรับยาเคมีบำบัด

                  วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา
                  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก และสมัครใจ
                  ที่จะรับยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัด หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

                  ปีงบประมาณ 2563 – 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ

                  วิธีการดำเนินงาน
                         การคัดกรองผู้ป่วย กลุ่มงานศัลยกรรมและงานปฐมภูมิได้รณรงค์คัดกรองและยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่
                  และลำไส้ตรง ในส่วนของมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินได้ร่วมกับมูลนิธิกาญจน
                  บารมีในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจรักษาโดยศัลยแพทย์ทุกวันทำ

                  การ  ซึ่งผู้ป่วยได้รับการตรวจส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ใน
                  ส่วนของมะเร็งเต้านมจะนัดมารับการผ่าตัดเต้านมและส่งชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย รวมถึงการนัดมาฟังผลชิ้นเนื้อ
                  และนัดเข้าระบบการให้ยาเคมีบำบัดที่หน่วยเคมีบำบัด หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป

                         การรักษาพยาบาล จัดระบบการดูแลผู้ป่วยแบบ one stop service ให้การดูแลรักษาโดยศัลยแพทย์
                  และพยาบาลที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม ให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก จำนวน 5 เตียง
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112