Page 106 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 106

B34


                  การออกเยี่ยมบ้านติดตามอาการผู้ป่วยที่มีการปรับขนาดยาและผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาซึ่งส่งผลต่อ
                  การจัดการความปวด และประเมินผลการรักษาทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ

                  ผลการศึกษา
                         จากการศึกษาทำให้ได้ระบบใหม่ในพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมในการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์
                  (opioids) สำหรับการจัดการอาการปวด ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยพบ

                  เภสัชกรรับยาและให้คู่มือและให้คำแนะนำ และติดตาม โดยเภสัชกรโทรศัพท์หรือ ตามการนัดที่โรงพยาบาล
                  หรือการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีการปรับขนาดยาและผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยา ในช่วงเดือน มกราคม ถึง
                  เมษายน 2567 พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 25.81 จากจำนวนทั้งหมด 62 คน เพศหญิง

                  ร้อยละ 68.8 ช่วงอายุมากที่สุดคือ 61-70 ปี  สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าพบมากที่สุด  โดยพบมากที่สุดคือ
                  โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษามากที่สุด รองลงมาคือรักษา
                  ที่โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ป่วยทุกคนรับทราบและเข้าใจโรคที่เป็นอยู่, ผล PPS
                  SCORE ที่ มากสุดพบว่าระดับร้อยละ 80 อาการที่พบมากได้แก่ อาการปวด ท้องผูก และคลื่นไส้/อาเจียน พบ

                  ปัญหาที่เกี่ยวกับยาก่อนการให้บริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 17 ปัญหา ค่าเฉลี่ย 1.06 ครั้งต่อคน และหลัง
                  บริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 6 ปัญหา ค่าเฉลี่ย 0.37 ครั้งต่อคน โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  (P<0.05) ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยควรได้รับยาเพิ่มเติม และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย การแก้ปัญหาที่
                  ดำเนินการโดยเภสัชกรมากที่สุดคือ ปรึกษาแพทย์เพื่อเพิ่มชนิดยาแก้ปวดโอปิออยด์ (opioids) รวมทั้งปรับ

                  ขนาดยา แก้ปวดโอปิออยด์ (opioids) เพื่อให้ควบคุมระดับความปวดและลดอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วย
                  เคมีบำบัดและอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยากลุ่มโอปิออยด์ (opioids) และแก้ปัญหาท้องผูกให้ผู้ป่วยโดยใช้ยา
                  ความรุนแรงของอาการปวด (pain score) ก่อนบริบาลทางเภสัชกรรมค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดเท่ากับ
                  5.62 และหลังมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นเท่ากับ 5.81 เนื่องจากการดำเนินโรคของผู้ป่วย คุณภาพ

                  ชีวิตการใช้ยาของผู้ป่วย ก่อนบริบาลทางเภสัชกรรมค่าเฉลี่ย 55.56 และหลัง ค่าเฉลี่ย 62.50 โดยลดลงอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

                  อภิปรายผล
                         แม้ว่าอาการปวดของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินไปของโรคแต่การติดตามอาการปวดและจัดการ
                  อาการปวดให้ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทำให้บรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งปัญหาทางด้านอื่นๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพูดคุย

                  และช่วยกันแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยเพิ่มเติม คือทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจจะต้องพัฒนาระบบการปรึกษาทางด้านจิตเวช
                  เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ของผู้ป่วยและญาติที่ดูแล

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ควรพัฒนาระบบการปรึกษาทางด้านจิตเวชเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
                  และญาติที่ดูแล
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111