Page 110 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 110
B38
Test and Tract for HBV & HCV infection: รู้เร็ว รู้รักษา ลดมะเร็งตับ ครบวงจร
แพทย์หญิงพนารัตน์ เพียงปราชญ์ และคณะ
โรงพยาบาลชัยภูมิ เขสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเพื่อเร่งรัดการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบในประเทศไทย
ให้สำเร็จโดยในปี 2567กำหนดโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเป็นนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในประเด็นมะเร็ง
ครบวงจร จึงได้มีการเร่งรัดการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีในประชากรที่เกิดก่อนพ.ศ.2535 และ
กลุ่มเสี่ยง ในการคัดกรองตามยุทธศาสตร์กำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ.2565 – 2573 ( Thailand National
Strategies to Eliminate) พบติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 1.5 ล้านคน (WHO,2021) ไวรัสตับอักเสบบีและซี
นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเช่นกัน ปัจจุบันโรงพยาบาลชัยภูมิมีผู้ป่วยกลุ่มไวรัสตับ
อักเสบซีจำนวน 182 ราย ผู้ป่วยกลุ่มไวรัสตับอักเสบบีจำนวน258ราย(ข้อมูลเวชสารสนเทศ1ม.ค.2565-28 มี.ค
2567) ที่อยู่ในกระบวนการรักษาได้เริ่มดำเนินการคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เกิดก่อน ปีพ.ศ.2535
ในเขตอ.เมืองจ.ชัยภูมิจำนวน17,370รายโดยคัดกรองกลุ่มไวรัสตับอักเสบบีและซีจำนวน5,597รายและ5,617
ราย เพื่อเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วโดยมีการจัดการใช้กลยุทธ์ 3 E & Early screening -
Early detection - Early treatment
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อค้นหาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีรายใหม่และเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดการเกิดมะเร็งตับ
วิธีการศึกษา (3.1) รูปแบบการศึกษา:ประเมินผลโครงการโดยเริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม
2566โดยบูรณาการร่วมกันโดยอายุรแพทย์ รังสีแพทย์ และภาคีเครือข่าย โดยเริ่มดำเนินการคัดกรองตั้งแต่
วันที่22ม.ค. – 28 ก.พ. 2567 หลังคัดกรองผู้ป่วยที่ผลการทำ Screening: Rapid test HBS ag & Anti HCV
Positive ผู้ป่วยเข้าแคมป์รับความรู้ในการรักษาป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อโดยอายุรแพทย์ รังสี
แพทย์ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจ U/S Screening Upper Abdomen ผลU/S ผิดปกตินัดทำ CT
Upper Abdomen ภายใน 1 สัปดาห์ รวมระยะเวลาตั้งแต่คัดกรองผลผิดปกติได้เข้าสู่กระบวนการรักษา
2สัปดาห์ (3.2) การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่เกิดก่อนพ.ศ. 2535 เขตอำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ ที่
ผ่านการคัดกรองโดยการตรวจ Screening: Rapid test HBS ag & Anti HCVผลการคัดกรองได้ผู้ป่วยติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบบี 53 รายและตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 27 ราย (3.3) วิเคราะห์ข้อมูล
หาค่าเฉลี่ยและร้อยละโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี
ผลการศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) จำนวน 53 ราย เพศชายร้อยละ67.92 เพศหญิง
ร้อยละ32.08 อายุเฉลี่ย 57.66 ปีอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ60.38 สถานะภาพสมรสร้อยละ75.48ไม่มีโรค
ประจำตัวร้อยละ52.83 ไม่เคยตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีร้อยละ86.79ไม่เคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ร้อยละ100 ไม่เคยตรวจคัดกรอง Anti – HCV ร้อยละ100
ข้อมูล จำนวน ร้อยละ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ HBV
1. AST เฉลี่ย 42.16 IU/L