Page 112 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 112
B40
ข้อมูล จำนวน ร้อยละ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCV
-Normal Liver 16 59.25
8. ผลการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในช่องท้องส่วนบน (CT Upper 5 ราย
Abdomen)
-Hepatocellular carcinoma 3 11.11
-Dysplastic nodule 1 3.70
-Hepatic hemangioma 1 3.70
อภิปรายผล
การคัดกรองผู้ป่วยพบมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมากกว่าตับอักเสบซีโดยพบร้อยละ 0.94 และ
ร้อยละ 0.48 เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงอายุเฉลี่ย 57.66 ปี และ 62.96 ปี เป็นผู้ป่วยไวรัสบีและซีตามลำดับ
อาชีพส่วนใหญ่เกษตรกรรมสถานะภาพสมรส ไม่เคยมีโรคประจำตัวและไม่เคยตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี
และซีมาก่อน ไม่เคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเหมือนกันทั้งในผู้ป่วยไวรัสตับ
อักเสบบีแลซีคือการใช้อุปกรณ์บางชนิดร่วมกับผู้อื่นเช่น การเจาะผิวหนังทีไม่ใช่สถานพยาบาล ผลการตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการพบมีความผิดปกติของหน้าที่ตับโดยมีค่า AST เฉลี่ย 79.96 , ALT เฉลี่ย 64.33 IU/ml.
ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ส่วนไวรัสตับอักเสบบีมีค่า AST สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อยและค่า ALT อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ไวรัสตับอักเสบบีพบผล HBe Ag negative เป็นส่วนมากและ HBV Viral load <2,000 IU/ml คิดเป็น ร้อยละ
66.03 ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีมีค่า AFP>10 mg/mlมากกว่าผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีโดยคิดเป็นร้อยละ 37.03
และ ร้อยละ 9.43 ผู้ป่วย1คนที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ร่วมกัน ,ไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส HIV
เลยในทั้งสองกลุ่ม ไม่พบการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีแต่พบมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี
ร้อยละ 11.11 ภาวะตับแข็งในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี สูงกว่าไวรัสตับอักเสบบี คิดเป็นร้อยละ 18.5 และ
ร้อยละ 3.77 ภาวะไขมันพอกตับสูงในไวรัสตับอักเสบบีมากกว่าไวรัสตับอักเสบซีคิดเป็นร้อยละ 11.32 และ
3.70 การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับในไวรัสตับอักเสบซี ได้ส่งต่อรักษาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 2 คน
และอีก1คนขอรักษาแบบประคับประครอง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีได้รับ ยา Sofosbuvir/Velpatasvir 23 คน
คิดเป็นร้อยละ 85.18 ส่วนอีก 1 คน ที่มีการติดเชื้อทั้งไวรัสตับอักเสบบีและซีร่วมกัน ได้ทำการรักษาไวรัสตับ
อักเสบบีก่อน โดยให้ยา TAF ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีได้รับยาTAF คิดเป็นร้อยละ 35.84 การติดเชื้อไวรัสตับ
อักเสบบีสูงกว่าไวรัสตับอักเสบซี แต่การเกิดมะเร็งตับสูงในกลุ่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี
สรุปและข้อเสนอแนะ
โครงการนี้เพิ่มโอกาส ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาได้เร็วและลดการเกิดมะเร็งในอนาคตได้สูง เป็นการรักษา
ผู้ป่วยในปริมาณมากพร้อมกันได้โดยใช้รยะเวลาสั้นและเป็นต้นแบบของจังหวัดชัยภูมิ