Page 113 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 113
B41
Digital Data Pathology Processing: From Ground to the Cloud
นางสาวเบญจมาศ ทองขวัญ และนายสิทธิเดช เปรุณาวิน
โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เขตสุขภาพที่ 11
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการวางแผนการทำงาน และพัฒนาองค์กร เพื่อให้
ผู้รับบริการได้รับประโยชน์ที่ดีขึ้น โดยในทุกๆปีหลังจากปิดปีงบ หน่วยงานหลายๆหน่วยงานต้องสรุปข้อมูลต่างๆ
ที่สำคัญเช่น ข้อมูลผู้ใช้บริการ ข้อมูลทรัพยากรที่ใช้ และข้อมูลทางด้านการเงิน เนื่องจากการสรุปข้อมูลโดยนับ
ผ่านสมุดบันทึกใช้ระยะในการสรุปข้อมูลนาน เพื่อนับรายละเอียดเพียงชนิดเดียว ซึ่งการลงทะเบียนภายในกลุ่มงาน
พยาธิวิทยากายวิภาค โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เดิมลงทะเบียนโดยใช้สมุดลงทะเบียน ทำให้ต้องใช้
ทรัพยากรต่างๆ เช่น สมุดลงทะเบียน กระดาษ ปากกา ในปี พ.ศ.2560 ทางผู้พัฒนาจึงปรับวิธีการลงทะเบียน
โดยบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม Microsoft Excel และ Print เก็บใส่แฟ้ม แต่ด้วยรูปแบบการจัดวางรายละเอียด
ข้อมูล เป็นแบบแยกหน้าและรายละเอียดข้อมูลแต่ละช่องที่มีการใส่ข้อมูลหลายประเภทในช่องเดียวกันส่งผล
กระทบต่อการวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ต้องใช้เวลานาน เฉลี่ย 1 อาทิตย์ ,กระบวนการสรุปข้อมูลที่ยุ่งยาก และเกิด
ความคาดเคลื่อนของข้อมูลได้ ทางทีมผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบ
วัตถุประสงค์การศึกษา
- เพื่อลดระยะเวลาในการสรุปข้อมูลทะเบียนชิ้นเนื้อ
- เพื่อลดการใช้กระดาษต่อเดือน ภายในกลุ่มงาน Paperless
- ลดอุบัติการณ์ข้อมูลสูญหาย
วิธีการศึกษา
ทางทีมพัฒนาได้มีการนำเทคนิค PDCA มาใช้ในการพัฒนาโดย
Plan ทางทีมพัฒนาได้สำรวจข้อมูลที่ทางกลุ่มงานจำเป็นต้องใช้ตามมาตรฐานราชวิทยาลัยพยาธิ
แพทย์ คือข้อมูลชนิดชิ้นเนื้อตามรหัสกรมบัญชีกลาง ข้อมูลชนิดย้อมพิเศษ Immunohistochemistry
ตามรหัสกรมบัญชีกลาง ข้อมูลชื่อแพทย์ผู้ผ่าตัด และจำนวนชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจ หลังจากทราบรายละเอียดแล้ว
ทางทีมจึงวางแผนเขียนรายละเอียดที่จำเป็น เลือกโปรแกรมที่ต้องการใช้ โดยเลือกใช้ Google Sheet สร้าง
หน้าข้อมูลแยกคอลัม รายละเอียดสำคัญประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ผู้ป่วย, HN, วันที่ผ่าตัด, ชนิดชิ้นเนื้อตาม
รหัสกรมบัญชีกลาง, ชนิดย้อมพิเศษ Immunohistochemistry ตามรหัสกรมบัญชีกลาง, แพทย์ผู้ทำ และ
จำนวนชิ้นเนื้อที่ส่ง อีกทั้งทางทีมเล็งเห็นว่า ข้อมูลวันนัดผู้ป่วยช่วยให้ทางกลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาคสะดวก
ในการคีย์คิดเงิน โดยช่องลงข้อมูลอยู่ในรูปแบบ Drop down เพื่อให้ข้อมูลออกมาในรูปแบบเดียวกัน และเพิ่ม
รายละเอียดสี เพื่อช่วยให้สามารถแยกรายละเอียดแต่ละช่องได้ หลังจากสร้างหน้าลงข้อมูลเสร็จ ดำเนินการ
สร้างหน้าสรุปข้อมูลต่างๆ ทางทีมพัฒนาเลือกใช้โปรแกรม Google Looker Studio ในการสร้างหน้าสรุป
ข้อมูล โดยกำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน้า Google Sheet บันทึกลงทะเบียนชิ้นเนื้อมาวิเคราะห์ และยกเลิกการ
Print บันทึกเก็บใส่แฟ้มทะเบียนชิ้นเนื้อ