Page 116 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 116
B44
โครงการทางด่วนมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลหาดใหญ่
นางสุธีรา วงค์สุวรรณ์ นางพรชื่น รักษ์วงศ์
นางวรรณา ฤทธิรุตม์ และนายนิยม จันทร์แนม
โรงพยาบาลหาดใหญ่ เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
มะเร็งเต้านมพบมากที่สุดในผู้หญิงไทย อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมรายใหม่ 37.8 ต่อประชากร
หญิงไทย 100,000 คน คิดเป็นจำนวนผู้ป่วย 22,158 คน และเสียชีวิตสูงถึง 8,266 ราย (พ.ศ. 2563) อัตรา
การรอดชีพของผู้ป่วยขึ้นกับระยะของมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 มีอัตรา
การรอดชีพที่ 5 ปี สูงถึงร้อยละ 94 และลดลงเป็นร้อยละ 85 และ 56 ในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 2 และ 3
ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มีอัตราการรอดชีพที่ 5 ปี เพียงร้อยละ 28 จากข้อมูลพบว่า
ผู้หญิงไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 มีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น
ความซับซ้อนในระบบส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล ทำให้ยากในการเข้าถึงการรักษาจากทีมแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จึงมาพบแพทย์ด้วยมะเร็งเต้านมระยะ
ลุกลาม ทำให้ยากลำบากต่อการรักษาให้หายขาดและส่งผลให้มีการกลับเป็นซ้ำของโรคสูง รวมทั้งอัตรา
การรอดชีพต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีระบบการคัดกรองมะเร็งเต้านมและระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น โรงพยาบาลหาดใหญ่ จึงได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน โดยพัฒนา Web application
มาประยุกต์ใช้ในทางด่วนมะเร็งเต้านม เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายค้นหามะเร็งเต้านมแต่เริ่มแรก และสามารถ
พาตัวเองเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว (Early diagnosis) และรักษาอย่างทันท่วงทีจากทีมสหสาขา
วิชาชีพที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านมะเร็ง เพื่อตอบสนองเป้าหมาย Service Plan สาขาโรคมะเร็ง คือ ลดอัตราตาย
ลดอัตราป่วย และลดระยะเวลารอคอย โดยขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์ การป้องกันและการณรงค์เพื่อลดความเสี่ยง
(Primary Prevention) และการตรวจคัดกรองและตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้น (Screening and Early Detection)
วัตถุประสงค์การศึกษา
2.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อาการเตือนมะเร็งเต้านม
2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้อง
2.3 เพื่อสร้างแรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
2.4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการเตือนมะเร็งเต้านม 6 อาการ เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว
วิธีการศึกษา
6.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการ
6.2 จัดทำและพัฒนา Web application และสื่อรูปแบบต่างๆ
6.3 สร้างการรับรู้ Web application ผ่านการโฆษณาซ้ำ การสร้างความรู้จัก เชื่อ ชอบ อยากลอง
และร้องขอ Web application
6.4 ประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนาต่อยอด
6.5 ประกวดผลการดำเนินงาน
6.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน