Page 114 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 114
B42
Do นำหน้า Google Sheet ให้ผู้ปฏิบัติงาน ใช้และแก้ไของค์ประกอบหรือช่องข้อมูล เพื่อความ
สะดวกของผู้ปฏิบัติงาน และนำข้อมูลจาก Google Looker Studio เสนอให้ที่ประชุมกลุ่มงานเพื่อปรับ
รายละเอียดที่สำคัญ หลังจากนั้นนำไปใช้จริง โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566
หน้าจอ Google Looker Studio วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล
Check นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผล โดยเปรียบเทียบตัวชี้วัดกับก่อนการใช้ โดยหลังจากเก็บข้อมูลพบว่า
ตัวชี้วัดที่ 1 ระยะเวลาในการสรุปข้อมูล
เมื่อนำระบบเข้าใช้ภายในกลุ่มงาน ส่งผลให้ระยะเวลาในการสรุปข้อมูล = 0 นาที และ
สามารถติดตามข้อมูลได้แบบ Real time
ตัวชีวัดที่ 2 ปริมาณการใช้กระดาษต่อเดือนหลังจากลงทะเบียนในระบบ
ปริมาณกระดาษที่ใช้ปริ้น = 0 แผ่น
ตัวชี้วัดที่ 3 อุบัติการณ์ลงข้อมูลผิด = 0 ครั้ง/เดือน
Act นำผลของระบบการลงทะเบียนใหม่ เสนอต่อที่ประชุมกลุ่มงาน และยกเลิกการลงทะเบียนชิ้นเนื้อ
แบบเดิม
ผลการศึกษา
เมื่อทางทีมผู้พัฒนา ทำการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพบว่า
ตัวชี้วัด ก่อนพัฒนาระบบ หลังพัฒนาระบบ
1. ระยะเวลาในการสรุปข้อมูล 1 อาทิตย์ 0 นาที
2. ปริมาณการใช้กระดาษในการลงทะเบียนชิ้นเนื้อ เฉลี่ย 30 แผ่น/เดือน 0 แผ่น
3. อุบัติการณ์ลงข้อมูลผิด 5 ครั้ง/เดือน 0 ครั้ง/เดือน
อภิปรายผล
การพัฒนาระบบลงทะเบียนชิ้นเนื้อโดยการนำหลัก PDCA มาใช้วิเคราะห์สาเหตุและพัฒนาให้เกิด
ผลลัพธ์ ทางทีมพัฒนานำเทคโนโลยี Cloud มาพัฒนาระบบลงทะเบียนชิ้นเนื้อ โดยใช้ Google Sheet ในการ
บันทึกข้อมูล และการใช้โปรแกรม Google Looker Studio เข้ามาช่วยวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล โดย