Page 131 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 131

C6


                  ในโรงพยาบาล ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยด้านความต้องการของผู้ป่วยและญาติที่ส่งผลให้ต้องมีการรับผู้ป่วยทั่วไปเข้า
                  รับการรักษาในโรงพยาบาล ผลการศึกษาที่เกิดขึ้นเป็นการยืนยันถึงผลดีของการนำเอาแนวคิดของการพัฒนา
                  คุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วยการนำวงจรเดมมิ่ง (Deming Circle)มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการ ใช้ดัชนี

                  ความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยกผู้ป่วย ซึ่งการนำเอาดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินที่เป็นเครื่องมือที่มีการ
                  พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำไปทดลองใช้ และศึกษาวิจัยถึงผลของการใช้ทำให้
                  เครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน ถือได้ว่าเป็นการนำเอาหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based
                  practice) มาใช้ในการปฏิบัติของหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง
                         กล่าวโดยสรุปได้ว่า การนำดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยกผู้ป่วยมาใช้โดยใช้การพัฒนา

                  คุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการซึ่งสามารถ เพิ่มประสิทธิผล
                  ด้านความถูกต้องของการคัดแยก และลดระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมารับบริการจนกระทั่งพบแพทย์หรือพยาบาล
                  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการพัฒนาคุณภาพการ ใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

                  ในการปฏิบัติ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                  การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
                           1. การนำไปใช้ประโยชน์สำหรับบุคลากรทำให้เข้าใจหลักการของการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินโดยใช้
                  MOPH ED. triage guideline ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นและควบคุมกำกับนิเทศให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง

                           2. ประโยชน์สำหรับผู้รับบริการ ได้รับบริการตามความเร่งด่วนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพิ่ม
                  คุณภาพและผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามมาตรฐานและตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วยที่คัดแยก
                  รวมทั้งการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงหรืออาการทรุดลงในผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉิน
                           3. สามารถนำไปต่อยอดได้โดยไปให้ความรู้ต่อบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดแยกของหน่วยงานผู้ป่วยนอก

                  เพื่อให้การคัดแยก  โดยใช้เกณฑ์MOPH ED. triage guideline เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร นำรูปแบบ
                  การให้ความรู้ แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย โปสเตอร์เกณฑ์การคัดแยก และการให้ข้อมูลย้อนกลับไปใช้
                  เพื่อพัฒนาการคัดแยกผู้ป่วยต่อไป

                  ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
                           1. ก่อนมีการนำดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปใช้ ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ให้มีความรู้

                  ความเข้าใจและขั้นตอนในการใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้ป่วย ขณะมีการใช้ควรให้ความรู้ และ
                  ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่เป็นระยะเพื่อให้เกิดความชำนาญในการคัดแยกผู้ป่วย
                           2. การนำดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปใช้ ควรมีการประเมินผลการใช้เป็นระยะและต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง

                  และแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
                           3. ในหน่วยงานที่จะนำดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปใช้ ควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือพยาบาลผู้ที่มีความรู้
                  ความเข้าใจในดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินเป็นอย่างดี เพื่อช่วยในการตัดสินใจและช่วยในการประเมินความถูกต้อง

                  ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
                            ควรมีการศึกษาผลลัพธ์ต่อเนื่องระยะยาวเพื่อยืนยันผลลัพธ์การใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับ

                  การคัดแยกผู้ป่วย เช่น อัตราการเสียชีวิตภายใน 6 เตือน การใช้ทรัพยากร ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มาใช้
                  บริการและความทันเวลาในการได้รับการรักษาพยาบาล

                  คำสำคัญ : 1. การคัดแยกผู้ป่วย  2.  MOPH ED. TRIAGE   3. ผู้ป่วยฉุกเฉิน
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136