Page 130 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 130
C5
การอภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน
โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพและเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติงาน
ประจำที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ
น้อยกว่า 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์การทำงานมากที่สุดอยู่ในช่วง 5 – 10 ปี ส่วนใหญ่
ไม่ผ่านการอบรมการพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นทำให้การคัดแยก
ผู้ป่วยทำให้เกิดความผิดพลาดในการคัดแยกผู้ป่วย ประเมินสูงกว่าความเป็นจริงส่งผลทำให้มีการใช้ทรัพยากร
มากเกินความจำเป็น หรือประเมินคัดแยกผู้ป่วยต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าและ
ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานมีแนวทางหรือคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วย ที่มีคำจำกัด
ความของการจำแนกแต่ละประเภทไม่ชัดเจน ใช้คำกว้าง ตีความยาก เมื่อจำแนกประเภทแล้วไม่ทราบว่า
ต้องทำอะไรต่อพยาบาลใช้ความรู้สึกในการจำแนกประเภทผู้ป่วย เครื่องมือมีรายละเอียดมาก จำยาก
ขาดความรู้ และประสบการณ์ในการคัดแยกผู้ป่วยโดยประเมินผลลัพธ์ และได้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ
การคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage โดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกันส่งผลทำให้ผู้คัดแยกมีความมั่นใจในการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ
พรวิภา ยะสอน เรื่องผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราช
ผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามหลัก MOPH ED Triage
ของผู้ศึกษาพบว่าความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย ก่อนและระหว่างการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในการ
ใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยกผู้ป่วย พบว่า การใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยก
ผู้ป่วยมีประสิทธิผลดีขึ้น โดยกลุ่มประชากรผู้ทำการคัดแยกทั้งหมด 13 ราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 520 ราย
มีการคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขี้น จากร้อยละ 67.12 เป็นร้อยละ 83.46 คัดแยก
ระดับความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยไม่ถูกต้องลดลง จากร้อยละ 32.88 เป็นร้อยละ 16.54 ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยที่คัด
แยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินไม่ถูกต้อง มีการคัดแยกต่ำกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็นจริง (Under Triage)
ลดลง จากร้อยละ 17.69 เป็นร้อยละ 9.81 คัดแยกสูงกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็นจริง (Over Triage) ลดลง
จากร้อยละ 15.19 เป็นร้อยละ 9.81 เนื่องจากการใช้กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการประชุม จัดอบรม
ให้ความรู้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยและฝึกปฏิบัติจริงจากกลุ่ม
ตัวอย่าง ให้ผู้ทำการคัดแยกมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดข้อตกลง
ในการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนได้จากความตรงกันของผลการคัดแยกระดับถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้อง
การงานวิจัยของสหัศถญา สุขจำนงต์ เรื่องคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน
อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ประสิทธิผลการคัดแยกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยของผู้คัดแยกที่คัดแยกผู้ป่วยและของ
ผู้ศึกษา และจำนวนผู้ป่วยแต่ละระดับที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือส่งต่อ ผลการศึกษาด้านความ
ถูกต้องของการคัดแยก โดยความตรงกันของผลการคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยของผู้ที่คัดแยกผู้ป่วย
และของผู้ศึกษา ภายหลังการนำดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปใช้พบว่าความตรงกันของการคัดแยกระดับความ
ฉุกเฉินของผู้ป่วยระหว่างผู้คัดแยกกับผู้ตรวจสอบ อยู่ในระดับดีมากซึ่งเพิ่มมากขึ้น และผลการคัดแยกระดับ
ความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยของผู้คัดแยกที่คัดแยกผู้ป่วย Under Triage แต่ละระดับที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาลหรือส่งต่อ เมื่อเทียบกับก่อนใช้ส่วนจำนวนผู้ป่วยแต่ละระดับที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
หรือส่งต่อลดหลั่นตามระดับความรุนแรงฉุกเฉินที่ทำการคัดแยกผู้ป่วย แม้ว่าผลการศึกษาจะไม่เป็นไปตาม
ทิศทาง คือ ระหว่างการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องยังพบผู้ป่วยฉุกเฉินไม่เร่งด่วนได้เข้ารับการรักษา