Page 132 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 132

C7


                    การพัฒนา การเข้าถึงเข้ารับบริการด้วยระบบ Stroke Fast Track ในโรงพยาบาลชุมชน

                                             นายนวชล สุดดี, นางสาววราภรณ์ ทรัพย์เอี่ยม และนางวรัญญู สิริเพชรสมบัติ
                                                                   โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         โรงพยาบาลเทพสถิตเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอทอดยาว
                  ตำบลต่าง ๆ ห่างไกลจากโรงพยาบาล รวมถึงไกลจาก แม่ขาย รพ.ชัยภูมิ 97 กิโลเมตร อีกทั้งไม่มีแพทย์เฉพาะทาง

                  ด้านระบบสมอง และไม่มี CT scan การตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือด
                  สมอง ในปีงบประมาณ 2564 - 2566 พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองและส่งต่อ
                  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำนวน 63, 90 และ 107 รายตามลำดับ แต่พบว่า การเข้าถึงบริการหลังมีอาการของ
                  โรคหลอดเลือดสมอง ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับการส่งต่อ สำหรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมทันเวลา

                  นั้นมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 46.03, 36.67 และ 36.45 ซึ่งยังไม่ถึงเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 40 รวมถึงผู้ป่วย
                  กลุ่มดังกล่าวนั้นเข้าถึงบริการด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับการประเมินอาการ
                  สำหรับการเตรียมการดูแลก่อนการส่งต่อให้รวดเร็วนั้น มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 15.18, 10.00 และ 11.11
                  ตามลำดับในปีข้างต้น โดยผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนนั้น

                  ระยะเวลาหลังมีอาการมีความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการดูแลเบื้องต้น และการส่งต่อให้ทันเวลาเพื่อการรักษา
                  ที่เหมาะสม ด้วยงานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทบทวน
                  กระบวนการและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแบบ Root cause analysis ตามบริบทของโรงพยาบาล และ
                  ปรับปรุงกระบวนการดูแล (Care process) โดยพบสาเหตุที่สำคัญแยกเป็นด้านต่าง 3 ด้าน คือ ด้านผู้ป่วยและญาติ,

                  ด้านองค์กร และด้านครือข่ายสุขภาพ ตามแผนภูมิก้างปลา
                         โดยผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก
                  รพ.แม่ข่าย นั้น ระยะเวลาหลังมีอาการ (Patien delay time) มีความสำคัญต่อการจัดการให้การดูแลเบื้องต้น

                  และการส่งต่อให้ทันเวลาอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม  ด้วยงานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินฯ
                  เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทบทวนกระบวนการและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแบบ Root
                  cause analysis ตามบริบทของโรงพยาบาล เพื่อการปรับปรุงกระบวนการทั้งระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
                  สมองในโรงพยาบาลชุมชนได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเหมาะสม ทันเวลา
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดเลือดสมองหลังมีอาการ 3 ชั่วโมง มากกว่า
                  ร้อยละ 40 ในปีงบประมาณ 2567
                         2. เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่า

                  ร้อยละ 20
                         3. เพื่อเพิ่มอัตราการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง stroke ที่มีอาการใน 3 ชั่วโมง (วินิจฉัย Stroke
                  fast track) ภายใน 30 นาที มากกว่าร้อยละ 80 ในปีงบประมาณ 2567

                  วิธีการศึกษา (ขั้นตอนการดำเนินงาน)
                         1. จัดเก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการใน รพ.เทพสถิต

                         2. วิเคราห์ปัญหา ด้วยการวิเคราะห์หารากของสาเหตุ โดยการใช้ fish bone diagram.
                         3. วางแผนการพัฒนา โดยอิงตามสาเหตุของปัญหา
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137