Page 194 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 194

E3


                     รูปแบบการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยโมเดล “ไทยเจริญ V – Care” อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร


                                                 นางสาวสุพัตรา อุปชัย, นางสาวอนุธิดา ศรีวิเศษ, นางสาวเจนจิรา มูลสาร
                                                     นางสาวราตรี วรโพธิ์, นายสมัชชา นนตา และนายวัชระพงษ์ บุญมา
                                                                 โรงพยาบาลไทยเจริญ จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ปัญหาการใช้เสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้สารเสพติดก่อให้เกิดปัญหาสำคัญของประเทศ

                  ที่ทำลายทรัพยากรบุคคล คุณภาพชีวิตของประชากร การใช้สารเสพติดต่อเนื่องจนเกิดภาวะติดยาเสพติด
                  มีผลกระทบต่อการรับรู้ ความคิด การตัดสินใจ รวมไปถึงการควบคุมตัวเอง ส่งผลกระทบทำให้มีพฤติกรรม
                  ก้าวร้าว และอาจก่อความรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หรือทรัพย์สิน ซึ่งเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า ผู้ป่วย SMI-V
                  (Serious Mental Illness with High Risk to Violence) ซึ่งก่อให้เกิดความรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตัว
                  เอง ครอบครัวและชุมชน ตามที่มีการเสนอข่าวตามสื่อต่างๆ ที่ได้นำเสนอเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญที่

                  เกิดขึ้นที่ผ่านมา โดยผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นบุคคลปกติทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาด้านจิตเวช แต่มีประวัติเกี่ยวกับการ
                  ใช้สารเสพติด ประวัติเคยรักษาในโรงพยาบาล หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับไปอยู่กับครอบครัวหรือ
                  ชุมชนแล้วมีปัญหาขาดการรักษาต่อเนื่อง ขาดยา ไม่ยอมรับการเจ็บป่วยหรือมีประวัติการใช้สารเสพติดต่อเนื่อง

                  ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วย SMI-V จะมีอาการกำเริบก่อความรุนแรงได้ในพื้นที่ จากสถิติการรวบรวมข้อมูล
                  ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและลงทะเบียนยืนยัน
                  ผู้ป่วย SMI-V จำนวนสะสมถึง 13,194 คน และในพื้นที่จังหวัดยโสธร มีผู้ป่วย SMI-V สะสม ในปี พ.ศ. 2566
                  สูงถึง 408 ราย ซึ่งพบว่ามีจำนวนผู้ป่วย SMI-V สะสมเพิ่มมากขึ้นทุกปี

                         จากจำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในพื้นที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัด
                  ยโสธร มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน ทั้งในเรื่องของการบำบัดรักษา การติดตาม
                  หลังบำบัด รวมไปถึงปัญหาการเข้าถึงบริการ ตามสถิติยอดผู้ป่วยยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาในเขตพื้นที่
                  อำเภอไทยเจริญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2566 จำนวน 121, 146, 122 และ 155 ราย  และพบว่าร้อยละของ

                  ผู้ป่วยยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง 1 ปี ในปี พ.ศ. 2563 - 2566 ร้อยละ
                  66.6, 70,70.41, 60 และ 43.86 ตามลำดับ
                         ผู้วิจัยและประชาชนในพื้นที่จึงสนใจพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความ
                  รุนแรง (SMI-V) ในชุมชนพื้นที่อำเภอไทยเจริญ เพื่อเป็นแนวทางการดูแลที่มีประสิทธิภาพช่วยเหลือผู้ป่วยใน

                  ชุมชนให้ได้รับการติดตาม การเข้าถึงบริการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อลดความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงที่ส่งผล
                  กระทบต่อตนเองและผู้อื่น ชุมชนเกิดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด (SMI-V) เกิดการบูรณาการความ
                  ร่วมมือของภาคีเครือข่ายและชุมชนสร้างรูปแบบการดูแลแบบยั่งยืนต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วมโดยชุมชนมีส่วนร่วม

                         2. เพื่อศึกษาผลของการใช้โมเดลดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น
                  วิธีการศึกษา
                   รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) อาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบ Action Research

                         ระยะที่ 1 ศึกษา ปัญหาความรุนแรงในชุมชนจากการใช้สารเสพติด
                         ระยะที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา และวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วม
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199