Page 196 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 196

E5


                  SMI-V ในชุมชน” ทีมวิจัยมีการจดบันทึกการถามคำถามและการตอบคำถามของผู้ร่วมสนทนากลุ่ม โดยการ
                  ถาม 1 คำถามและคำตอบที่ได้มีทิศทางแนวคำตอบไปในทางเดียวกัน 3-4 คำตอบ เพื่อมาวิเคราะห์และชวน
                  ผู้สนทนาในกลุ่มหาแนวทางการดูแลผู้ป่วย SMI-V ในชุมชนร่วมกัน

                         ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ (Do) นำบทสรุปที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาออกแบบโมเดลที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
                  อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร และนำไปทดลองใช้ในกลุ่มพื้นที่นำร่อง
                         ขั้นที่ 3 การตรวจสอบ (Check) ร่วมกับชุมชนในการตรวจสอบกระบวนการ และวิธีการที่ได้วางแผน
                  ร่วมกันว่ากระบวนการสามารถดำเนินการได้จริงในบริบทพื้นที่หรือไม่ อย่างไร
                         ขั้นที่ 4 การปรับปรุง (Act) นำข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตจากขั้นที่ 3 มาปรับปรุงกระบวนการ วิธีการ

                  ดำเนินการ เพื่อนำไปสู่โมเดลการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
                  ที่เหมาะสมที่สุดต่อไป

                  การวิเคราะห์และสถิติที่ใช้
                         ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากระยะที่ 1-3 ในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม มีการ

                  นำมาวิเคราะห์เซิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยแปลความ สรุปความเป็นรูปแบบการบำบัดเพื่อออกแบบ
                  กิจกรรมต่อไป ในระยะที่ 4 เป็นการประเมินผลสำเร็จของโมเดลที่นำไปทดลองใช้ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่
                  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

                  ผลการศึกษา
                         ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย SMI-V ร่วมกับชุมชน โดยกระบวนการ PDCA โดยศึกษา

                  ปัญหาความรุนแรงของผู้ป่วย SMI-V ในชุมชนร่วมกับการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแล
                  ผู้ป่วย SMI-V ร่วมกับชุมชน นำรูปแบบไปทดลองใช้กับพื้นที่ต้นแบบ และมีการสรุปผลประเมินผล โดยทำกลุ่ม
                  (Focus Group) กลุ่มตัวอย่างที่มีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดูแลชุมชน จำนวน

                  20 ท่าน โดยใช้วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม (Discussion Method : ORID) ใช้แนวคำถาม ในประเด็นสำคัญ
                  ได้แก่
                         1. วิเคราะห์ปัญหาร่วมกันกับแนวคำถาม คิดอย่างไรกับผู้ป่วย SMI-V ในชุมชนของเรา ได้ความคิดเห็น
                  สำคัญจากผู้นำชุมชนในเรื่อง “ผู้ป่วย SMI-V ก่อความเดือดร้อนให้กับชุมชน สร้างความเดือดร้อนให้กับญาติ
                  สร้างความหวาดกลัว หวาดระแวงต่อชาวบ้านคนรอบข้างในชุมชน” และมีญาติผู้ดูแลผู้ป่วยแสดงความคิดเห็น

                  ว่า “ถ้าไม่มียาเสพติดในชุมชนหรือถ้ามียาเสพติดน้อยกว่านี้ หาซื้อมาเสพน้อยกว่านี้ก็จะทำให้มีผู้ป่วยกลุ่มนี้
                  น้อยลง”
                         2. วิเคราะห์ผลกระทบร่วมกันกับแนวคำถาม รู้สึกอย่างไรต่อผู้ป่วย SMI-V ในชุมชนของเราได้

                  ความคิดเห็นสำคัญจาก อสม.ในเรื่องนี้ว่า “รู้สึกหวาดกลัว ไม่อยากเข้าใกล้ รู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและ
                  ทรัพย์สิน” และมีญาติผู้ดูแลผู้ป่วยแสดงความคิดเห็นว่า “รู้สึกเป็นห่วง สงสาร เป็นห่วงทั้งเรื่องสุขภาพร่างกาย
                  จิตใจ ส่งผลกระทบต่อการงาน การเรียน”
                         3. วิเคราะห์การแก้ปัญหาร่วมกันกับแนวคำถาม จะทำอย่างไรต่อผู้ป่วย SMI-V ในชุมชนของเรา

                  ได้ความคิดเห็นสำคัญจาก เจ้าหน้าที่กู้ชีพในเรื่องนี้ว่า “แจ้งตำรวจ และผู้นำหากพบผู้ป่วยมีอาการกำเริบใน
                  ชุมชนเพื่อส่งโรงพยาบาลรักษา และอยากให้มีการบำบัดรักษาเป็นเวลานานๆ” มี ผู้นำชุมชนได้แสดง
                  ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “จะต้องมีการสอดส่องดูแลผู้ป่วย ในชุมชนร่วมกัน ไม่ให้อาการกำเริบรุนแรงได้ ถ้ามี
                  ต้องรีบนำส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล”
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201