Page 195 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 195

E4


                         ระยะที่ 3 ดำเนินการนำโมเดล “ไทยเจริญ V – Care” มาใช้ทดลองในพื้นที่ต้นแบบ สรุปเป็นระยะ
                  และประเมินผลโมเดลเบื้องต้น เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาแล้ว นำแนวทางไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ อำเภอไทยเจริญ
                  ทั้งหมด 5 ตำบล

                         ระยะที่ 4 สรุปผลประเมินผล และอภิปรายผลการดำเนินงานรูปแบบการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชน
                  มีส่วนร่วม ในรูปแบบโมเดล “ไทยเจริญ V – Care”
                         กลุ่มตัวอย่าง (Study subjects)
                         การวิจัยช่วงที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (ประกอบด้วย 3 ระยะด้านบน) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนผู้มี
                  ส่วนร่วมในการดำเนินงานที่สำคัญในชุมชนที่มีการดำเนินงานรูปแบบการบำบัดผู้ใช้ ผู้เสพสารเสพติด เลือกโดย

                  วิธีเจาะจงเฉพาะ ผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญในการดำเนินงานการบำบัดโดยชุมชนมีเป็นฐาน เนื่องจากระบวนการวิจัย
                  แบบ Action Research จะต้องอาศัยข้อมูลและความร่วมมือจากผู้มีส่วนสำคัญในชุมชนและเจ้าหน้าที่ใน
                  ท้องถิ่น โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลและร่วมพัฒนารูปแบบ จำนวน 43 คน ประกอบด้วย

                         1. ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติดที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในเขตอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
                  จำนวน 10 คน
                         2. ผู้นำชุมชนในเขต อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร จำนวน 13 คน
                         3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานจิตเวชและยาเสพติดใน รพ.สต. จำนวน 2 คน

                         4. อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขต ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร จำนวน 13 คน
                         5. เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ปกครอง อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร จำนวน 3 คน
                         6. เจ้าหน้าที่กู้ชีพ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร จำนวน 2 คน
                         การทำกลุ่ม (Focus group) ที่ประกอบไปด้วยผู้มีส่วนร่วมสำคัญในชุมชนในการพัฒนารูปแบบการ

                  ดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร ประกอบไปด้วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย
                  ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผู้รับผิดชอบงาน
                  เจ้าหน้าที่กู้ชีพ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยใช้วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม (Discussion Method :
                  ORID) แนวคำถามเน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ปัญหา ผลกระทบ การแก้ปัญหา

                  เพื่อให้เกิดแนวทางการดูแลผู้ SMI-V ในชุมชนร่วมกัน
                         การวิจัยช่วงที่ 2 เป็นการประเมินผลโมเดล “ไทยเจริญ V – Care” (ระยะที่ 4) โดยรายงานผลสถิติ
                  เชิงคุณภาพ ร้อยละ สัดส่วน ในการประเมินผลสำเร็จจากการใช้โมเดลที่พัฒนาขึ้น

                  การรวบรวมข้อมูล
                         เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มตามที่ทีมวิจัยได้

                  ตั้งขึ้นจำนวน 4 ประเด็นหลัก โดยกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และรูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้
                  วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม (Discussion Method : ORID) โดยผ่านระดับความสำนึก 4 ระดับ ได้แก่ วัตถุ
                  วิสัย (Objective) ไตร่ตรอง (Reflective) ตีความ (Interpretative) และตัดสินใจ (Decision) ซึ่งใช้ประเด็น

                  คำถามจากงานวิจัยของ สุกัญญาละอองศรี (2559) โดยกิจกรรมการวิจัยที่มีลักษณะวงจรต่อเนื่องกันไป (spiral
                  of step) เป็นวงรอบของกระบวนการ PDCA
                         ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน (Planning) โครงการโดยชุมชนร่วมกับผู้วิจัย โดยใช้กิจกรรม ”การรักษา”
                  และกิจกรรม “การติดตามต่อเนื่อง” โดยอิงจากโปรแกรมการพัฒนาการเข้าถึงบริการและการดูแลผู้ป่วยโรคจิต

                  กรมสุขภาพจิต และใช้กล้องถ่ายรูปเก็บภาพกิจกรรมเพื่อใช้ประกอบแบบบันทึกสังเกตการปฏิบัติงานแต่ละ
                  ขั้นตอนใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แนวคำถามเน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยทีมวิจัยเน้น
                  การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหลัก 4 เรื่อง คือ “เห็นอะไรในผู้ป่วย SMI-V ในชุมชน” “รู้สึกอย่างไรต่อ
                  ผู้ป่วย SMI-V ในชุมชน” “จะทำอย่างไรต่อผู้ป่วย SMI-V ในชุมชน” และ “ตัดสินใจจะทำอะไรให้กับผู้ป่วย
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200