Page 197 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 197

E6


                         4. ร่วมวางแผนกำหนดแนวทางการดูแลร่วมกันกับแนวคำถาม ตัดสินใจจะทำอะไรให้กับผู้ป่วย SMI-V
                  ในชุมชนของเรา ในขั้นตอนนี้ได้มีการร่วมแสดงความคิดเห็นและเขียนแผนผังการดูแลผู้ป่วย จากข้อคำถาม 3 ข้อ
                  ได้มีการออกแบบแนวทางการดูแลผู้ป่วย SMI-V ร่วมกัน สามารถสรุปแนวทางสำคัญได้ดังแผนภาพ
































                         ระยะที่ 2 การประเมินผลการใช้โมเดลต้นแบบ “ไทยเจริญ V Care” ในการดูแลผู้ป่วย SMI-V ร่วมกับ
                  ชุมชน เริ่มมีการประสานส่งต่อผู้ป่วย SMI-V เข้ามาในระบบ 1 ราย จากผู้ป่วยรายใหม่ 3 คนที่เข้าสู่ขบวนการ

                  บำบัดรักษาในโรงพยาบาล ซึ่ง 1 รายนี้ เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่น้ำคำ ที่มีการทดลองใช้ และเป็นกรณียุ่งยาก
                  ซับซ้อน มีการใช้สารเสพติดและอาละวาดขู่ทำร้ายมารดา ได้รับการประสานเข้ามาในระบบไทยเจริญ V-Care
                  และประสานเจ้าหน้ากู้ภัยออกประเมินร่วมกับปกครองอำเภอไทยเจริญ นำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา

                  ในสถานพยาบาล และส่งต่อบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว Long term care ที่มินิธัญญรักษ์
                  กุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ระยะเวลา 3 เดือน ระบบการติดตาม หลังใช้ระบบการติดตามทุก 1 เดือน
                  พบว่า ผู้รับผิดชอบติดตามสามารถส่งแบบรายงานประเมินติดตามได้ถูกต้อง จำนวน 7 คน จากทั้งหมด 10 คน
                  และไม่พบผู้ป่วยที่ติดตามในระบบมีอาการกำเริบซ้ำ ในระยะเวลา 3 เดือน

                  อภิปรายผล

                         แนวทางการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วมจากการสนทนากลุ่มในพื้นที่ต้นแบบน้ำคำแล้ว
                  ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยชุมชนมีส่วนร่วม ของอำเภอไทยเจริญ เรียกว่า “ไทยเจริญ V - Care”
                  ขึ้นจากเดิมที่ไม่มีระบบรายงาน ระบบติดตามผู้ป่วย ได้มีการสร้างระบบการสื่อสารขึ้นมา เป็นระบบไลน์ 2 ระบบ
                  สำหรับการประเมิน ส่งต่อ รักษา ที่สามารถเข้าใช้งานได้สำหรับประชาชนทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือใน
                  การประเมินอาการผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง และแนวทางการดูแลเบื้องต้นในภาวะความรุนแรงต่างๆ

                  ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการได้เรียกว่า “Alert ไทยเจริญ V Care” และระบบไลน์สำหรับติดตามที่
                  เฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ปกครองมหาดไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้นำ เจ้าหน้าที่กู้ชีพ และ
                  เจ้าหน้าที่อสม.ในชุมชนที่ได้รับมอบหมายให้มีการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชน เพื่อเป็นระบบการสื่อสาร

                  ระหว่างกันประสานดูแลในกรณีผู้ป่วยมีความยุ่งยากซับซ้อน ระบบการดูแลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกับผู้ดูแล
                  ในชุมชน โดยจะมีการแบ่งกลุ่มห้องย่อยทั้งหมด 7 ห้องตามพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.ในเขตอำเภอไทยเจริญ
                  เพื่อให้มีการจัดการระบบข้อมูลการติดตามอย่างเป็นระบบและเพื่อลดปัญหาเรื่องการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202