Page 199 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 199

E8


                  การบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ Intermediate Care หอผู้ป่วยมินิธัญญารักษ์บ้านแสงอรุณ
                    “ผู้บำบัดเข้าถึงเร็วไว บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คืนคนใหม่ให้ชุมชนและครอบครัว”


                                                                                            นางวาสนา กาญจนะ

                                                                โรงพยาบาลตากใบ จังหวัดนราธิวาส เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากฐานข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำเภอตากใบ (ศปร.อ.ตากใบ)
                  พบจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดที่ได้รับการบำบัดรักษาจนถึงปี 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 439 ราย
                  พบเป็นผู้ใช้สารเสพติดจำนวน 35 ราย เป็นผู้เสพ จำนวน 183 ราย และเป็นผู้ติดจำนวน 221 ราย ชนิดของ
                  สารเสพติดที่ใช้อันดับหนึ่งคือ เฮโรอีน รองลงมาคือยาบ้า น้ำกระท่อมและใช้มากกว่า 2 ชนิด ตามลำดับ

                  พบสถิติผู้ใช้สารเสพติดในกลุ่มอายุ 20-29 ปี มากที่สุด รองลงมาคือ อายุ 30-39 ปี โดยสาเหตุของการใช้
                  สารเสพติดครั้งแรก คือ อยากลอง เพื่อนชวน และไม่สบายใจ ตามลำดับ จากจำนวนผู้ติดสารเสพติดทั้งหมด
                  พบผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดมีการติดเชื้อไวรัส HIV ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนจากโรควัณโรคจำนวน 24 ราย

                  ในกลุ่มที่ใช้สารเสพติดยาบ้า พบมีอาการทางจิตจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน จำนวน 132 ราย ผลกระทบที่
                  เกิดขึ้นแก่ครอบครัวและชุมชน พบว่าผู้ติดสารเสพติดได้สร้างภาระให้กับครอบครัว มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวน
                  มากกับการซื้อยาเพื่อเสพ ขาดความรับผิดชอบในครอบครัว พบอาการทางจิตจากการเสพติดเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมี
                  พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ทำลายข้าวของ ทำร้ายคนในครอบครัว ขโมยทรัพย์สิน จนถึงการฆ่าบุคคลใน

                  ครอบครัว จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำเภอตากใบ (ศปร.อ.ตากใบ) พบว่าร้อยละ 100 ปัญหา
                  ยาเสพติดได้สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน โดยพบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 65 ปัญหา
                  อาชญากรรมร้อยละ 35 จากข้อมูลการบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดในสถานบริการภาครัฐระดับประเทศใน
                  ปีงบประมาณ 2564 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในระดับประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 205,763 ราย

                  แบ่งเป็นเขตสุขภาพที่ 12 พบจำนวน 4,594 ราย และในจังหวัดนราธิวาส พบ จำนวน 553 ราย พื้นที่อำเภอ
                  ตากใบ พบจำนวน 77 ราย (แบบรายงาน บสต. กระทรวงสาธารณสุข : 2567)โรงพยาบาลตากใบเห็นถึง
                  ความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ Intermediate Care
                  หอผู้ป่วยมินิธัญญารักษ์บ้านแสงอรุณ “ผู้บำบัดเข้าถึงเร็วไว บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คืนคนใหม่ให้

                  ชุมชนและครอบครัว”

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาผลของการการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ Intermediate Care หอผู้ป่วย
                  มินิธัญญารักษ์บ้านแสงอรุณ
                         1.1 เพื่อติดตามหลังการบำบัดฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยยังคงอยู่ในการติดตามดูแลต่อเนื่อง (Retention rate)

                         1.2 เพื่อติดตามการหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่าย 3 เดือน Remission rate
                         1.3 เพื่อติดตามคุณภาพชีวิต (Quality of life) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ Intermediate Care หอผู้ป่วยมินิธัญญารักษ์
                  บ้านแสงอรุณในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดทุกประเภทที่เข้ารับรับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่ระยะ Acute Care

                  จนถึงระยะ Intermediate Care ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 จำนวน 60 คน
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204