Page 200 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 200
E9
3.1 จัดตั้งคณะทำงานคณะกรรมการยาเสพติดอำเภอตากใบแบบบูรณาการภาคีเครือข่ายตามคำสั่ง
อำเภอตากใบที่ 480/1566
3.2 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ แก่คณะกรรมการยาเสพติดอำเภอตากใบ ผู้รับผิดชอบ
งานยาเสพติดประจำสาธารณสุขทุกอำเภอ ทุกโรงพยาบาลชุมชน ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดประจำสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกตำบล ฝ่ายปกครอง ตำรวจภูธรอำเภอ
ตากใบ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนจิตอาสา ญาลันนันบารู 21 มิถุนายน 2566
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลตากใบ
3.3 ให้บริการรักษาและถอนพิษยาผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตในระยะ Acute Care โดยจำแนก
ความรุนแรงของผู้ป่วยตามระดับ OAS score ประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น ประเมินคัดกรองและส่งต่อผู้ใช้สาร
เสพติด (V2) ประเมินการเปลี่ยนแปลง 5 ระยะ (Stage of change) ดูแลรักษาด้วยยา ทำจิตบำบัดรายบุคคล
ส่งเสริมการทำกลุ่มบำบัด
3.4 ให้การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบ Intermediate Care ระยะเวลาในการบำบัด
จำนวน 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย การบำบัดยาเสพติด สัปดาห์ที่ 1-2 กิจกรรมกลุ่มประชุมเช้า กิจกรรมกลุ่ม
เพื่อนช่วยเพื่อน การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (MET) การบำบัดทางความคิด (CBT) ศาสนบำบัด ศิลปะ
บำบัด การป้องกันสมองติดยา อาชีวะบำบัด ดนตรีบำบัด การออกกำลังกาย การฟื้นฟูสมรรถภาพสัปดาห์ที่
3-4 กิจกรรมกลุ่มประชุมเช้า อาชีวะบำบัด ดนตรีบำบัด การออกกำลังกาย ครอบครัวบำบัด วางแผนการ
จำหน่าย ส่งต่อข้อมูลการติดตามต่อเนื่อง
3.5 ติดตามประเมินผลการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผลการศึกษา
ผลการดำเนินงาน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ถึงปัจจุบัน เดือนมกราคม 2567
จากแบบรายงานระบบข้อมูลการบาบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต. กระทรวง
สาธารณสุข) มีผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้วจำนวน 60 ราย แยกตามประเภทการใช้สารเสพติด Multiple drug
33 ราย คิดเป็นร้อยละ 55 ยาบ้า/ยาไอซ์ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.67 เฮโรอีน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.67
ติดพนันออนไลน์ (Gambling) 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.67 อยู่ระหว่างการบำบัดจำนวน 18 รายทั้งหมดเข้าสู่
การรักษาในระยะ Acute Care จำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.67 ระยะถอนพิษยาจำนวน 2 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 3.33 ผู้บำบัดจำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.67 เข้าสู่การบำบัดรักษาตามมาตรา 114 มีหน่วยงาน
มหาดไทย ปกครอง และแกนนำจิตอาสา ญาลันนันบารู และจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.33 สมัครใจเข้าสู่
การบำบัดรักษาตามมาตรา 113 ผลการติดตามหลังการบำบัดฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยยังคงอยู่ในการติดตามดูแลต่อเนื่อง
(Retention rate) จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.33 ผู้ป่วยสามารถหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือนหลังการ
จำหน่าย (Remission Rate) จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.33 ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น
มีความรับผิดชอบ ช่วยงานอาชีพในครอบครัว คะแนนคุณภาพชีวิต (Quality of life) อยู่ในระดับปานกลาง
คิดเป็นร้อยละ 90.24 ภายหลังการบำบัดผู้ป่วยได้รับการจ้างงานประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างเหมาบริการ จำนวน
1 ราย ประกอบอาชีพรับจ้างสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวจำนวน 1 ราย เป็นจิตอาสาชักจูงให้ผู้เสพยาเสพติดเข่า
สู่กระบวนการบำบัดรักษา จำนวน 1 ราย