Page 230 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 230

E39


                         1. มีแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชนที่ประกอบด้วย 1) แบบประเมิน
                  การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (OAS) 3)
                  แบบการบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชสำหรับพยาบาล 4) แบบประเมินอาการทางจิตกำเริบ (5 Red flags)

                  5) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
                         2.ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติ พบว่า 1) ผู้ให้บริการ คือ พยาบาลมีความรู้การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช
                  เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนมีความความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น
                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจภายหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ มากกว่า
                  ค่าเป้าหมายร้อยละ 80 และ 2) ผู้รับบริการ คือ ญาติมีความความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมี

                  นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความพึงพอใจภายหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ มากกว่าค่าเป้าหมายร้อยละ 80
                  และอุบัติการณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยง พบว่า ก่อนการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ (มีค.-มิย.66) พบอุบัติการณ์
                  จำนวน 6 ครั้ง ร้อยละ 40 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ (กค.-ตค.66) พบอุบัติการณ์ลดลงมีจำนวน 1 ครั้ง

                  ร้อยละ 6.66

                  อภิปรายผล
                         การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้แก้ปัญหา
                  ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ มีกระบวนการพัฒนาที่ช่วยส่งผลให้ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการมีความรู้ พยาบาล
                  ชุมชนได้รับปลอดภัย มีรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านอย่างชัดเจนต่อเนื่อง และเกิดความ

                  พึงพอใจ สอดคล้องกับเป้าหมายประสงค์ของโรงพยาบาลชลบุรี ยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตและกระทรวง
                  สาธารณะสุข ในด้าน Service Excellence เป็นหน่วยบริการสุขภาพจิตและยาเสพติดในชุมชน PP&P
                  Excellence ลดการป่วยซ้ำ มีเครือข่ายดูแลสุขภาพที่ดี People Excellence บุคลากรมีศักยภาพสูง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                           1. ผู้ปฏิบัติการพยาบาลควรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
                           2. ควรจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และทบทวนแนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน
                  ผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
                           3. รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชนสามารถนำไปขยายผลต่อยอดในชุมชน
                  เมืองชลบุรี หรือเป็นแบบอย่างให้ โรงพยาบาลอื่นนำไปใช้ได้ โดยพิจารณาความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละ

                  โรงพยาบาล/ชุมชน
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235