Page 229 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 229

E38


                  ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนที่เพิ่มขึ้น  เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (Vroom, 1964) ภายใต้แนว
                  ปฏิบัติร่วมกัน



                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน

                         2. เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
                                2.1 ผู้ให้บริการ
                                2.1.1 เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน สำหรับพยาบาล
                  ก่อนและหลัง

                                2.1.2 เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนก่อน
                  และหลัง
                                2.1.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯของพยาบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
                  ภายหลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ

                                2.2 ผู้รับบริการ
                                2.2.1 เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสำหรับญาติผู้ป่วยจิตเวชก่อนและหลัง
                                2.2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ของพยาบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
                  หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ

                                2.2.3 เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ก่อนและหลัง

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนา
                  คุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Deming, 2000) ตามขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Plan) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา
                  ทบทวนตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2559. 2563) (Cohen & Uphoff, 1980)

                  (Vroom, 1964) 2) ปฏิบัติ (Do) พัฒนาแนวปฏิบัติฯ ออกแบบการบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช และจัด
                  ประชุมให้ความรู้ 3) ตรวจสอบ (Check) นิเทศติดตามผลลัพธ์ และ 4) การแก้ไขปัญหา (Act) สรุปผลเพื่อ
                  ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มภาคีเครือข่ายและขยายผลต่อยอดในชุมชนเมืองชลบุรี

                         กลุ่มตัวอย่าง ที่คัดเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้บริการ คือ 1.1 พยาบาล
                  จำนวน 8 คน 1.2 ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนจำนวน 50 คน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบใกล้เคียงกับผู้รับบริการและใน
                  เขตพื้นที่รับผิดชอบของ ศสม.รวม 7 พื้นที่เฉลี่ยพื้นที่ละ 6 คน 2) ผู้รับบริการ คือ ญาติผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วย
                  จิตเวชจำนวน 15 คน คำนวณจากการเปิดตารางสำเร็จรูปแบบทางเดียว (Munro, 2001) โดยกำหนดระดับ
                  นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 Power of test ที่ 0.60 และขนาด Effect size เท่ากับ 0.80 เพื่อป้องกัน

                  ข้อมูลขาดหาย จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพิ่มอีก 20%
                         เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความรู้เกี่ยวการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชสำหรับพยาบาล แบบประเมิน
                  ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ สถิติที่ใช้ในการ

                  วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed Rank test สถิติ
                  Paired samples t-test และ One sample t- test

                  ผลการศึกษา
   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234