Page 265 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 265

F23


                                            นวัตกรรม สายรัด NST ลดเชื้อ เพื่อคุณ


                                                                                   นางสาวกษมพร พิพัฒน์วณิชชา
                                                                  โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สุขภาพของทารกในครรภ์เป็นตัวทำนายได้ว่าทารกที่เกิดมาว่าจะกลายเป็นเด็กทารกที่สุขภาพดี

                  หรือเป็นเด็กป่วยที่มีภาวะผิดปกติ ซึ่งการประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี
                  และมีความสำคัญในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ การทำนายโอกาสเกิดความเจ็บป่วย
                  ของทารกแรกเกิด นำไปสู่การวางแผนจากสหวิชาชีพเพื่อเตรียมความพร้อม และรับมือในการดูแลทารกได้
                  โดยสามารถประเมินได้หลายวิธี เช่น การเจาะน้ำคร่ำมารดา การเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะผิดปกติทางพันธุกรรม

                  การติดตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของมารดา การวัดขนาดมดลูก การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
                  (Fetal Heart rate) เป็นต้น ทารกในครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะสุขภาพตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด
                  และระยะรอคลอด ซึ่งการประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์โดยการติดเครื่องประเมินสุขภาพทารกในครรภ์

                  (Non-stress test: NST) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถตรวจได้จากภายนอก (non-invasive)
                  ทำได้ง่ายและสะดวก มีความจำเพาะ (Specificity) สูง โดย NST 1 เครื่อง ประกอบไปด้วย สายรัด Fetal NST 2 เส้น
                  ซึ่งทำหน้าที่ในการรัดหัวตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (Ultrasonic Transducer) หัวตรวจการบีบตัวของมดลูก
                  (Toco Transducer) โรงพยาบาลพนัสนิคมมีหญิงตั้งครรภ์มารับบริการในปีงบประมาณ 2565 และ
                  ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1,888 และ 1,865 คน ตามลำดับ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มารับบริการที่จะได้รับ

                  การดูแลตั้งแต่ฝากครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตร ตามนโยบาย “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”ของโรงพยาบาล
                  พนัสนิคม โดย NST เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้บ่อยครั้ง หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องได้รับการติดเครื่อง NST
                  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ผู้ป่วยนอก (OPD Case) ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการเจ็บครรภ์เตือน หรือทารก

                  ในครรภ์ดิ้นน้อย ผู้ป่วยใน (IPD Case) ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องนอนโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                  ในกลุ่มที่อยู่ในระยะ Active Phase, น้ำเดิน หรือได้รับการเร่งคลอดด้วย Oxytocin และขณะเบ่งคลอด
                  และแผนกฝากครรภ์ (ANC) ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป
                         ห้องคลอดเป็นหน่วยสนับสนุนช่วยเหลือแผนกฝากครรภ์ในการติดเครื่องประเมินสุขภาพทารกในครรภ์

                  (NST) ในกรณีที่มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมาก โดยในปัจจุบันห้องคลอดมี สายรัดจำนวน 15 ชุด ซึ่งไม่เพียงพอ
                  ต่อการใช้งาน และให้บริการหญิงตั้งครรภ์ที่มาจากแผนกฝากครรภ์ และหญิงตั้งครรภ์ที่รอคลอด บางครั้ง
                  สายรัดปนเปื้อนสารคัดหลั่ง หรือมูกเลือด ต้องนำไปซักทำให้สายไม่เพียงพอและมีการใช้ซ้ำ จากสาเหตุดังกล่าว
                  ผู้ศึกษาจึงตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากคนหนึ่งสู่อีกคน และเมื่อซัก

                  ทำความสะอาดหลายครั้งสายรัดจะยืดและย้วย ประกอบกับสายรัดมีราคาแพง จึงเกิดนวัตกรรมสายรัด NST
                  ลดเชื้อ เพื่อคุณ เพื่อไม่ให้เกิดอัตราการใช้สายรัด NST ซ้ำ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อให้มีสายรัด NST เพียงพอต่อการใช้งานและให้บริการหญิงตั้งครรภ์และหญิงรอคลอด
                         2. เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

                         3. เพื่อประหยัดงบประมาณของหน่วยงาน
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270