Page 262 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 262
F20
การพัฒนาเครือข่ายการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดอัตราตายของมารดา
โดยใช้รูปแบบ Teamwork and Talent
นางสาวประภาภรณ์ บุญยงค์
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
การเสียชีวิตของมารดาจากการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งของแผนกสูติกรรม
จากแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสูติกรรม กำหนดเป้าหมายอัตราตายของมารดา
น้อยกว่า 17 ต่อแสนทารกเกิดมีชีพ สถิติปี 2563-2565 พบว่าอัตราตายของมารดาจังหวัดปราจีนบุรี
เท่ากับ 39.41, 61.11, และ 88.55 ต่อแสนทารกเกิดมีชีพ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราตายของมารดา
สูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการทบทวนการตายมารดาปี 2565 มีสาเหตุมาจาก มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอด
คิดเป็นร้อยละ 25 มีโรคร่วมทางอายุรกรรมร้อยละ 75 เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์รับการรักษาโรคประจำตัว
ไม่ต่อเนื่อง ฝากครรภ์ช้าและไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้รับการดูแลร่วมกันจากทีมสหสาขาวิชาชีพ และการปฏิบัติตน
ไม่ถูกต้องส่งผลให้โรคทางอายุรกรรมมีความรุนแรงมากขึ้น จากสาเหตุดังกล่าวสามารถป้องกันได้หากได้รับ
การคัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่แรก การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาจากทีมสหสาขา
วิชาชีพ และการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง นอกจากมารดาตายทำให้เกิดการสูญเสียบุคคลในครอบครัวแล้วยังทำให้
เกิดการร้องเรียนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นด้วย แผนกสูติกรรมจึงมีแนวคิดพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์
เพื่อลดอัตราตายของมารดา โดยพัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งจังหวัด ตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด การรับส่งต่อในกรณีที่มีความเสี่ยง ตลอดจนเพิ่มศักยภาพบุคลากร
ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตร ปลอดภัยทั้งมารดาและทารก
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อลดอัตราตายของมารดาในเครือข่ายจังหวัดปราจีนบุรี
ตัวชี้วัด อัตราการตายของมารดาไม่เกิน 17 ต่อแสนทารกเกิดมีชีพ
วิธีการดำเนินงาน
คณะกรรมการเครือข่าย Service Plan สูติกรรมจังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
บริการในเครือข่าย โดยใช้รูปแบบ Teamwork and Talent ดำเนินงาน ดังนี้
Team Building: การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
- ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน คณะกรรมการ MCH Board ของจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีสมาชิก
จากหน่วยงานทุกระดับ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน
- ดำเนินการค้นหาหญิงที่มีความเสี่ยงแบบบูรณาการโดยทีม 3 หมอ หมอ อสม. ค้นหาหญิงครรภ์
ที่มีความเสี่ยง หมอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ประเมินและประสานส่งต่อโรงพยาบาล
หมอโรงพยาบาลชุมชนตรวจประเมินและคัดกรองความเสี่ยง หากมีความเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์
Creative Thinking: การสร้างสรรค์การดำเนินงานขององค์กร
- 4 P for Plan of Pregnancy ได้แก่ Plan of Pregnancy, Plan of ANC, Plan of Delivery และ
Plan of Follow up