Page 263 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 263
E21
- จัดทำแนวปฏิบัติต่างๆที่ใช้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามบริบทของจังหวัดปราจีนบุรี เช่น แนวปฏิบัติ
เพื่อป้องกันมารดาตกเลือดหลังคลอด แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง แนวทางการดูแล
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
- พัฒนาคลินิก ANC high risk และทะเบียน ANC high risk เพื่อติดตามหญิงทีมีความเสี่ยงให้มาฝากครรภ์ตามนัด
ทุกราย
- จัดระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์แบบ Multidisciplinary team ในรายที่มีโรคประจำตัว
- มีระบบ Consult 24 ชั่วโมง
- จัดประชุมทบทวน case Maternal and Perinatal Conference ทุกพฤหัสบดีสัปดาห์สุดท้าย
ของเดือน เพื่อทบทวนกระบวนการทำงานที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรงพยาบาลทุกระดับในจังหวัด
ปราจีนบุรี
Lean Process: การปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนวิธีการ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ขับเคลื่อนนโยบาย One Province One Labor room โดยมีมาตรการ Set Zero PPH System
ป้องกัน Uterine atony ในห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชน 30 เตียงให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีความประสงค์
มาคลอดที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ได้โดยไม่ต้องผ่านระบบ Refer หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง
ได้รับการตรวจประเมินจากสูติแพทย์ทุกราย
- พัฒนาระบบ Seamless Referral System ของเคสหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
Talent Management: การสนับสนุนคนเก่งและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี
- มีการลงเยี่ยมเสริมพลังในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนเพื่อชื่นชนและรับฟังปัญหา
อุปสรรคเพื่อนำมาพัฒนาระบบบริการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการดำเนินงาน
Reward and Career Path : การยกย่องชมเชยและส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ
- เพิ่มศักยภาพแพทย์ ในการตรวจ U/S โดยโรงพยาบาลสามารถติดต่อส่งแพทย์ เข้ารับการอบรมได้
ตลอดเวลาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมีการกำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจ U/S ทุกราย
- เพิ่มศักยภาพพยาบาลส่งอบรมเฉพาะทาง