Page 268 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 268
F26
นวัตกรรม “PIH BOX บริหารยารวดเร็ว ปลอดภัย”
นางสาวเบญจวรรณ ผาจันทร์
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระยะตั้งครรภ์และ
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต หากไม่ได้รับการแก้ไข หรือให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว
อาจจะทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จากสถิติ 3 ปีย้อนหลังปี พ.ศ. 2564 - 2566
โรงพยาบาลโกสุมพิสัยจำนวนมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ 4 , 9 และ 27 ราย ตามลำดับ
ในจำนวนนั้นมีภาวะ Severe Pre-eclampsia ที่ให้ยากันชัก 3 , 4 และ 12 รายตามลำดับ ระบบเดิมก่อนพัฒนา
ยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วย Severe Pre-eclampsia และอุปกรณ์ในการจัดเตรียมยาถูกจัดแยกต่างหาก
โดย ยา MgSO4 จะเก็บไว้ในลิ้นชักที่มียาชนิดอื่นๆ และจะต้องหา Syring เข็ม และอุปกรณ์ต่างๆแยกต่างหาก
ทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมยานานขึ้น เจ้าหน้าที่ขาดความมั่นใจในการบริหารยา เสี่ยงต่อการบริหารยา
ผิดพลาด เนื่องจากนานๆถึงจะมี case เมื่อถึงเวลาต้องใช้ยาจะต้องเปิดดูเอกสารคู่มือ แนวปฏิบัติการดูแล
ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและการใช้ยา high alert drug ทุกครั้ง มีหัตถการและขั้นตอนการเตรียมยา
และอุปกรณ์นานเฉลี่ย 25-30 นาที/ราย ต่อมาจึงได้พัฒนารูปแบบการบริหารใหม่โดยการประชุม ปรึกษาทีมงาน
ห้องคลอด ในการคิดค้นวิธีการบริหารยาใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีการบริหารยาที่รวดเร็ว
แต่ได้มาตรฐาน ไม่มีความผิดพลาดจากการบริหารยา ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการได้ยาและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
จากภาวะ Severe Pre-eclampsia จึงได้จัดทำนวัตกรรม “PIH BOX บริหารยารวดเร็ว ปลอดภัย”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อบริหารยาในผู้ป่วยที่มีภาวะ Severe Pre-eclampsia
2. ผู้ป่วยได้รับยาทันเวลาไม่เกิดภาวะชักหรือภาวะแทรกซ้อนจาก ภาวะ Severe Pre-eclampsia
3. เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในนวัตกรรม ≥ 85%
4. ป้องกันการเกิดอุบัติการณ์การบริหารยาผิดพลาด
วิธีการศึกษา : นำกระบวนการ P-D-C-A มาพัฒนางาน ดังนี้
Plan: ประชุมปรึกษาหารือกับทีมงานห้องคลอดเพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหา ภายใต้
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยา MgSO4 ได้รับยาที่ถูกต้อง ปลอดภัยตามมาตรฐานการดูแล เจ้าหน้าที่
เกิดความมั่นใจในการบริหารยา ลดระยะเวลาและภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์และยา
เกิดความสะดวก รวดเร็ว พร้อมใช้ทันต่อเหตุการณ์ในการใช้ดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Pre-eclampsia
Do : นำแนวคิดที่ได้มาจัดเตรียมอุปกรณ์และจัดทำกล่อง “PIH BOX” ขึ้น และได้นำนวัตกรรมนี้
วางไว้ที่ห้องคลอดบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน มีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทราบเพื่อนำไปใช้เมื่อมี