Page 260 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 260

F18


                  ของโปรแกรม E1 : E2 เท่ากับ 82.50 : 85.50 ประกอบด้วย กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระยะเวลา

                  6 เดือน ดังนี้
                  ครั้งที่ 1
                         การรับรู้และแปลผลสุขภาพ และการปรับแนวคิดเพื่อสร้างพลัง ดึงศักยภาพ และความสามารถที่จะ

                  ค้นหาทางออก คำตอบ หรือวิธีการ (solution) ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำแบบประเมินความรู้สำหรับ
                  เป็นข้อมูลเบื้องต้น ใช้เวลา 15 นาที  จากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะได้รับข้อมูลผลการตรวจร่างกาย  นำมาประเมินผล
                  ของตนเองว่าอยู่กลุ่มใด จากนั้นเข้าสู่กระบวนการสร้างแนวคิดเพื่อสร้างพลังดึงศักยภาพ และความสามารถ
                  ที่จะค้นหาทางออก คำตอบ หรือวิธีการ(solution) ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในขั้นตอนนี้แต่ละคนจะได้
                  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองสู่และตั้งเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในครั้งแรก

                  ผู้วิจัยแจกสมุดประจำตัว  ให้ประเมินคะแนนตนเองว่าอยู่ที่คะแนนเท่าไร  ทำอะไรมาบ้างแล้วและต้องทำอะไรเพิ่ม
                  และให้นำกลับไปทำเป็นการบ้าน  นัดเวลาเพื่อการบำบัดครั้งต่อไป
                  ครั้งที่ 2-6

                         ก. ในการบำบัดเยี่ยม 1 สัปดาห์, 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 1 เดือน, 1 เดือน, 3 เดือน ทุกครั้ง จะมีการสรุปผล
                  จากการตั้งเป้าหมาย การประเมินตนเองจากผลการชั่งน้ำหนัก ตรวจน้ำตาลและความดันโลหิต การให้คะแนน
                  ตนเอง  สรุปผลสำเร็จ จากนั้นนำผลจากกิจกรรมในรอบที่ผ่านมา นำมาตั้งเป้าหมายใหม่ ผู้วิจัยให้แนวทาง
                  ด้านวิชาการในส่วนที่กลุ่มตัวอย่างยังมีไม่เพียงพอ การประเมินความก้าวหน้าด้วยตนเองและค้นหาทางออก

                  ที่จะพัฒนาความก้าวหน้าและจัดกิจกรรมของตนเองในสัปดาห์ต่อไป
                         ข. เมื่อครบครั้งที่ 6 คือ ระยะเวลา 6 เดือน ผู้วิจัยตั้งประเด็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตั้งเป้าหมาย
                  ต่อเนื่องเพื่อคงพฤติกรรม จะสรุปผลและทำแบบเมินความรู้ และแนะนำการเตรียมตัวคลอด
                  สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลพื้นฐาน และ สถิติที่ใช้

                  เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม แบบ nonparametric ได้แก่ Wilcoxon Signed-Rank Test

                  ผลการศึกษา
                         1. กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ระดับน้ำตาล (DTX.) หลังเข้าโปรแกรมสูงกว่า
                  ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

                         2.  ร้อยละ  91.70  ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าโปรแกรมไม่ต้องใช้ยาฉีด Insulin
                         3.  ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอดทั้งมารดาและทารก
                         4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโปรแกรมนี้มีประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้  อยู่ในระดับ
                  มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.92 , 0.29 ( X ,SD.)

                  อภิปรายผล

                         โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมุ่งเน้นหาทางออกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล
                  ในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์  ที่พัฒนาขึ้นช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้
                  หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และมีทักษะในการควบคุมระดับน้ำตาล
                  ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโปรแกรม ฯ ที่พัฒนาขึ้นช่วยให้กลุ่มตัวอย่างพัฒนาการ
                  เรียนรู้ของตนเอง  ซึ่งการมีความรู้  ความเข้าใจที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถนำความรู้ที่ได้มา

                  วิเคราะห์หรือเปรียบเทียบอย่างมีเหตุผล  เกี่ยวกับแนวทางการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  และส่งผลให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพมีแนวโน้มที่ดีขึ้น  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก  กระบวนการที่สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ
                  มีประสิทธิภาพ  ร่วมกับการนำแนวคิดการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่มาสร้างกระบวนการซึ่งเหมาะกับกลุ่มตัวอย่าง

                  และการให้คำปรึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบการให้คำปรึกษาเพื่อหาทางออก (Solution-focused
                  counseling)  ที่นำศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างในการเรียนรู้  และหาทางออกที่เหมาะสมในการจัดการปัญหา
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265