Page 271 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 271

F29


                           นวัตกรรม เตรียมยารวดเร็ว ปลอดภัย ห่างไกลตกเลือด “PPH Med Box”



                                                                                       นางสาวธารารัตน์ แพนศรี

                                                            โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                         จากสถานการณ์ห้องคลอดโรงพยาบาลโกสุมพิสัยปี พ.ศ. 2563-2565 มีมารดาคลอดทั้งหมด
                  318, 182, 218 ราย ตามลำดับมีอัตราการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ2.20 (7 ราย), 2.70 (5 ราย), 2.20 (5 ราย)

                  ตามลำดับ จากการทบทวนพบว่าเกิดจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวหลังคลอด 7 ราย, มดลูกไม่หดรัดตัวหลังคลอด
                  ร่วมกับ Tear vaginal wall 1 ราย, มดลูกไม่หดรัดตัวหลังคลอดร่วมกับ Tear cervix 1 ราย, รกค้าง 7 ราย,
                  แผลผ่าตัดคลอด 2 ราย แม้ว่าอัตราการตกเลือดหลังคลอดจะอยู่ในเกณฑ์คือไม่เกินร้อยละ 5 แต่มารดาที่ตกเลือด
                  หลังคลอดบางรายมีอาการรุนแรง ได้รับเลือด 9 ราย มีภาวะ Shock 2 ราย จากข้อมูลปี พ.ศ. 2563-2565 จะเห็นได้ว่า

                  อัตราการตกเลือดหลังคลอดยังสูงอยู่ ทำให้ห้องคลอดตระหนักเห็นความสำคัญถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อน
                  ที่เกิดกับมารดา จากการทบทวนการปฏิบัติงานพบส่วนที่ยังเป็นปัญหาคือ ในการเตรียมยาเพื่อรักษามารดา
                  ตกเลือดหลังคลอดแต่ละครั้งใช้ระยะเวลานานเนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาไม่ได้เก็บในบริเวณเดียวกันทำให้
                  เสียเวลาในการจัดเตรียมยาและเสี่ยงต่อการบริหารยาผิดพลาดจากการหยิบยาผิด

                        ดังนั้นจึงได้จัดทำนวัตกรรมเตรียมยารวดเร็ว ปลอดภัย ห่างไกลตกเลือด“PPH Med BOX” ขึ้น
                  มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด, ลดระยะเวลาในการจัดเตรียมยาและป้องกันความผิดพลาด
                  จากการบริหารยา โดยใช้ระยะเวลาศึกษาตุลาคม 2565-กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างมารดาที่มาคลอด 209 ราย
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด
                         2. เพื่อลดระยะเวลาในการจัดเตรียมยา
                         3. เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการบริหารยา

                         4. เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในนวัตกรรม >85 %
                  วิธีการพัฒนานวัตกรรม (วงล้อที่ 1)
                         1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
                         2. เก็บรวบรวมข้อมูล
                         3. นำแนวทางของจังหวัดเกี่ยวกับการดูแลมารดาที่มีภาวะตกเลือดมาสรุปเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการรักษา

                  ดังนี้  Line 1 : Oxytocin 5 amp, Line 2 : Methergin 2 amp, Line 3 : Nalador 2 amp.
                          Line 4 : Cytotec 4 tabs.
                         4. ปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับการเก็บรักษายาแต่ละชนิด เพื่อให้ยามีคุณภาพเหมือนเดิม

                         5. จัดทำวัสดุอุปกรณ์ทำกล่อง PPH Med Box ประกอบด้วย
                            - กล่องพลาสติก 1 กล่อง, แผ่นโฟมใส่ Tube, กระดาษสี, กาวสองหน้า, แผ่นเคลือบใส
                         6. จัดทำ PPH Med Box

                         7. นำไปทดลองใช้

                         8. ปรับปรุงให้ดีขึ้น (วงล้อที่ 2)
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276