Page 273 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 273
F31
การพัฒนาระบบการค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์
ก่อน 12 สัปดาห์ของตำบลธงธานี อำเธอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
นางพรพิศ กุดหอม, นางสาววรรณภา วาลย์มนตรี
โรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การฝากครรภ์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดจนการคลอด
เป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง
จากการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของแม่และเด็กในประเทศไทย พบว่า มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางที่ดี
และมีการดำเนินงานตามแนวทางการฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งขององค์กรอนามัยโลก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์
กลุ่มความเสี่ยงต่ำจะได้รับบริการฝากครรภ์เฉลี่ย 10 ครั้ง แต่ยังพบว่ามีกลุ่มที่มาฝากครรภ์ช้าถึงร้อยละ 25.7
ทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินความเสี่ยงและการดูแลตามมาตรฐานฝากครรภ์ช้าส่งผลให้เกิดความเสี่ยง
และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดทั้งตัวมารดาและทารก ซึ่งผลการดำเนินงาน
งานฝากครรภ์จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 พบว่าอัตราของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์
มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะเครือข่ายบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.2563- 2565
คิดเป็นร้อยละ 66.67, 72.22, และ 23.08 ตามลำดับ ถ้าวิเคราะห์ตามสถิติแล้ว ผลการดำเนินงานอำเภอธวัชบุรี
ยังไม่ผ่านเกณฑ์และยังเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามมาตรฐานฝากครรภ์
ดังนั้นปัญหาการฝากครรภ์ล่าช้า จึงเป็นปัญหาที่สำคัญจะต้องหาแนวทางการแก้ไข ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่
เกิดจากปัจจัยบุคคล ได้แก่ เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ไม่มั่นใจว่าตนตั้งครรภ์ รอให้ครรภ์โตก่อนจึงมาฝากครรภ์
ความไม่สะดวกและวันนัดตรงกับการทำงานประจำ (วัชรากร กุชโร.2562.การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมติดตาม
หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลหนองพอกจังหวัดร้อยเอ็ด Development of Home Visit Model for
1 2 -Week Pregnancy Women Created by Nong Phok Hospital, Roi Et Province,ธันวาคม2562(3),41.)
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์
โดยใช้ความรู้ทางการพยาบาลมา ผนวกกับการประเมินสถานะสุขภาพเพื่อการสนับสนุนให้การตั้งครรภ์
และการคลอดเป็นปกติ จะช่วยบรรเทาความกังวลด้านจิตใจแก่หญิงตั้งครรภ์และเป็นการป้องกันและเฝ้าระวัง
โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นร่วมกับการตั้งครรภ์ หทัยรัตน์รังสรรค์สฤษดิ์.(2020).ปัจจัยที่มีวามสัมพันธ์
ต่อการมาฝากครรภ์ล่าช้ากว่า 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในสถานบริการของรัฐ
เขตอำเภอกะทู้ จังหวัด ภูเก็ต.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น,1(3),12-25.) ตลอดจน
แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์
แต่ละราย
จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้นำระบบการเยี่ยมติดตาม
หญิงตั้งครรภ์มาปรับใช้และพัฒนาระบบการค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์
ก่อน 12 สัปดาห์ของตำบลธงธานี และนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการฝากครรภ์ ให้หญิงตั้งครรภ์