Page 276 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 276

F34


                     ผลของการใช้กล่องกันชัก(PIH BOX) ต่อสมรรถนะ ความรู้ ทักษะให้การพยาบาลและการบริหารยา
                       ในผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่งานการพยาบาลผู้คลอด

                                       โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
                      (The Effect of PIH BOX on knowledge, nursing competency and drug administrative skill
                            for pregnant women underlying severe preeclampsia among midwifes in

                                               Bandung crown prince Hospital.)


                                                                            นางสาวธัญลักษณ์ สีทองภาพ และคณะ
                                                   โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ. 2553 พบมารดาเสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 287,000 คน
                  (WHO, 2012) พบว่า ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่สองของการเสียชีวิต

                  และทุพพลภาพของมารดาและทารกทั่วโลกได้ร้อยละ 14 รองจากสาเหตุเรื่องการตกเลือด (WHO; 2015)
                  และพบว่าสาเหตุลำดับที่สามของการเสียชีวิตของมารดาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และอุบัติการณ์การเกิด
                  ภาวะความดันโลหิตสูงพบได้ถึงร้อยละ 5-10 ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูง
                  (กองบริหาร งานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา, 2560) จากสถิติหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล

                  สมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ. 2563-2565 จำนวน 682 625 และ681 ราย พบการเกิด
                  ภาวะครรภ์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง ร้อยละ 1.91 2.24 และ 1.91  (งานการพยาบาลผู้คลอด
                  ,2565)

                         ผลกระทบของภาวะนี้ต่อหญิงตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการชัก ภาวะของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
                  ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดภาวะผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด และกลุ่มอาการ HELLP (hemolysis,
                  elevated liver enzymes, low platelet count) ซึ่งประกอบด้วยการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงมีการเพิ่มขึ้น
                  ของเอนไซม์ตับ และมีปริมาณเกล็ดเลือดลดลงส่งผลระยะยาว ได้แก่ เกิดความดันโลหิตเรื้อรังเบาหวาน
                  หลอดเลือดหัวใจ ในขณะที่ผลกระทบที่อาจเกิดต่อทารก ได้แก่ ทารกเติบโตช้าในครรภ์คลอดก่อนกำหนด

                  โดยพบว่าร้อยละ 15   ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดจากมารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
                  และในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่มีระดับรุนแรงก็อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัว
                  แรกเกิดน้อยเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้ส่วนผลต่อทารกในระยะยาว ได้แก่ เกิดโรคปอดเรื้อรัง

                  ความผิดปกติของระบบจอประสาทตาในทารกคลอดก่อนกำหนด สติปัญญาต่ำ เป็นต้น (พรศิริ เสนธิริ,2560)
                         เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน หน่วยงานได้มีการจัดทำ PIH BOX เพื่อให้การดูแลรักษา
                  มารดาที่มีสภาวะนี้ให้ได้ทันเวลา เพื่อป้องกันการชักจากความดันสูง มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งใน BOX ประกอบ
                  ไปด้วย ยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ตาม Guideline ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลของการใช้กล่องกันชัก

                  (PIH BOX) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการสร้างนวัตกรรมที่ผ่านมา ในพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้คลอด
                  ซึ่งมีประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยได้รับการอบรมทางด้านสูติศาสตร์
                  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการให้การพยาบาลและการบริหารยาจากการใช้กล่องกันชัก (PIH BOX)

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการให้การพยาบาลและการบริหารยาจากการใช้กล่องกันชัก (PIH BOX)
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281