Page 274 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 274

F32


                  ได้รับการดูแลอย่างมีระสิทธิภาพตามมาตรฐานบริการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม

                  และเกิดประโยชน์สูงสุดกับหญิงตั้งครรภ์กว่ารูปแบบเดิมที่เน้นการให้บริการเชิงรับในสถานบริการเป็นส่วนใหญ่

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาและประเมินระบบการค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกการเพิ่มอัตราการฝากครรภ์

                  ก่อน 12 สัปดาห์ของตำบลธงธานี

                  วิธีการศึกษา
                         กลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลธวัชบุรี  ที่อาศัยในตำบลธงธานี

                  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-เดือนธันวาคม ปี 2566 จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสอบถามและข้อมูล
                  จากระบบ Health Data Center (HDC) แบบสอบถามความพึงพอใจและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

                  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  ผลการศึกษา
                         จากการนำนวัตกรรมมาปรับรูปแบบพัฒนาระบบการค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกพบว่า
                  กิจกรรมมีเหมาะสมกับพื้นที่ได้รับความร่วมมือของผู้ที่มีความเกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่

                  มีอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในปี 2566 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.82 จากเดิมร้อยละ 23.08 ซึ่งคิดเป็น
                  ร้อยละ 61.90 และหญิงตั้งครรภ์มีความพึงพอใจปานกลาง และทีมสหวิชาชีพอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด


                  อภิปรายผล
                         จากการพัฒนาระบบการค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
                  ของตำบลธงธานี โดยมีการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ในระบบโดยมี 7 กิจกรรม ได้แก่ 1.Volunteer โดยแต่งตั้ง

                  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านค้นหาและติดตามหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบ 2. Award เป็นการเสริมพลัง
                  โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ด้านหญิงตั้งครรภ์ คือ Gift Set ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และ Gift set

                  เตรียมคลอดในรายที่ฝากครรภ์ครบคุณภาพ 2) ด้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคือถุงผ้าจิตอาสา
                  3. Line จัดตั้งกลุ่มไลน์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อติดตามและประสานงาน 4.Clinic ประชาสัมพันธ์
                  คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลธวัชบุรี และจัดบริการแบบ one stop service 5.Health Literacy ให้ความรู้

                  หญิงตั้งครรภ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมาก 6.Love จัดตั้งกลุ่มไลน์คลินิกฝากครรภ์เพื่อให้คำแนะนำ
                  การดูแลสุขภาพและติดตามการฝากครรภ์ตลอดจนการคลอด และ 7.Report มีผู้รับผิดชอบข้อมูลและติดตาม

                  รายงานการฝากครรภ์คุณภาพต่อเนื่อง หลังการพัฒนาระบบพบว่าตั้งครรภ์รายใหม่มีอัตราการฝากครรภ์
                  ก่อน 12 สัปดาห์ ในปี พ.ศ. 2566 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 38.82 จากเดิมร้อยละ 23.08 เป็นร้อยละ 61.90 และ

                  หญิงตั้งครรภ์มีความพึงพอใจปานกลาง และทีมสหวิชาชีพอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         สามารถนำไปประยุกต์ใช้โดยการปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ค้นหาและติดตามผลการดำเนินงาน
                  อย่างต่อเนื่องเพื่อนำปัญหาที่พบมาแก้ไขและพัฒนาระบบต่อไป
   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279