Page 279 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 279

F37


                           แนวทางการให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
                                          โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน



                                                                                              นางวาณี จันทร์สด
                                                                โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม เขตสุขภาพที่ 8

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การคลอดก่อนกำหนด เป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ
                  ทางด้านสูติศาสตร์ ก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย ส่งผล
                  กระทบต่อสุขภาพมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
                         จากสถิติการคลอดของห้องคลอด โรงพยาบาลเรณูนคร พบอัตราทารกคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้ม

                  ที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2564, 2565 และ 2566 คิดเป็นร้อยละ 2.00,6.78, และ19.15 ตามลำดับ ซึ่งเกินเกณฑ์
                  เป้าหมายที่กำหนด และจากข้อมูลการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ ที่ไปคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม
                  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายทางสูติกรรมโซนใต้ ทั้งหมด 172 ราย พบภาวะคลอดก่อนกำหนด จำนวน 20 ราย
                  คิดเป็นร้อยละ 11.63 พบทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ที่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนด จำนวน 4 ราย

                  คิดเป็นร้อยละ 44.44
                         การป้องกันและแก้ไขปัญหาการคลอดก่อนกำหนดนั้น ถ้าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา
                  ได้ร่วมรับรู้ประเด็นปัญหา มีการค้นหาปัจจัยสาเหตุของปัญหา หาวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหา

                  มีการวางแผนร่วมกันตามบทบาทของแต่ละภาคส่วน แล้วนำแผนที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติและสะท้อนผลการปฏิบัติ
                  จะส่งผลให้มีการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมีแนวทางบริการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่ครอบคลุม
                  มีระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
                  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องลดผู้ป่วย ลดแออัดและลดตาย ในสาขาทารกแรกเกิด
                  จะต้องมีการลด preterm โดยมีการให้การศึกษา รณรงค์ให้มีการฝากครรภ์และจัดระบบการฝากครรภ์คุณภาพ

                  เพิ่มมาตรการแนวทางการลดการคลอดก่อนกำหนดด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ดูแลรักษามารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์
                  คลอดก่อนกำหนด และนำไปสู่การปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเอง ความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลของครอบครัว
                  ชุมชนและเจ้าหน้าที่ให้บริการด้านสุขภาพ

                         2. เพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยการมีส่วนร่วม
                  ของครอบครัวและชุมชน
                  วิธีการศึกษา รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

                  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์
                  สมาชิกในครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
                  การเก็บรวบรวมข้อมูล  มีการแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นศึกษาสถานการณ์ ขั้นดำเนินการ
                  และขั้นประเมินผล
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284