Page 277 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 277
F35
วิธีการศึกษา
การศึกษาวิจัยเชิงทดลอง เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้กล่องกันชัก(PIH BOX) ในพยาบาลวิชาชีพ
งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุงจังหวัดอุดรธานี ทั้งหมด จำนวน 8 คน ตั้งแต่
วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง กล่องกันชัก (PIH BOX) และส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ส่วนบุคคลและแบบสอบถามสมรรถนะ ความรู้และทักษะความรู้และทักษะในการดูแลผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์
เป็นพิษก่อนและหลังการใช้กล่องกันชัก (PIH BOX) มีตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์
อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha) ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .80 ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มา
ตรวจสอบความถูกต้อง และนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ กำหนดระดับ
นัยสำคัญไว้ที่ระดับ .05 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยวิธีแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ คำนวณหาค่าเฉลี่ยและ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนของความหวังก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้
สถิติทีคู่ (paired -t– test)
ผลการศึกษา
1. ผลการศึกษาครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด มีอายุการปฏิบัติงาน (นับตั้งแต่
จบการศึกษา) เฉลี่ย 10.13 ปี (SD=5.08) มีประสบการณ์ในการทำงานการพยาบาลผู้คลอด เฉลี่ย 7.88 ปี
(SD=5.69) ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมการพยาบาลด้านสูติศาสตร์ จำนวน 7 คน ร้อยละ 87.5 (SD=3.53)
2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้กล่องกันชัก กลุ่มประชากรมีความรู้เกี่ยวกับการดูแล
ผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งโดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน (M= 5.62, SD= 0.52)
สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (M= 4.00, SD= 0.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -2.392, p < .05)
กลุ่มประชากรมีสมรรถนะเกี่ยวกับการดูแลผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งโดย
มีค่าเฉลี่ยคะแนน (M= 19.00, SD= 1.85) สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (M= 18.12, SD= 3.38)
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -1.105, p < .05) กลุ่มประชากรมีทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์
เป็นพิษ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งโดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน (M= 30.50, SD= 3.38) สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกลุ่ม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (M= 28.87, SD= 4.12) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -1.105 p > .05)
อภิปรายผล
ผลวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาสูงกว่าก่อนใช้กล่องกันชัก ทั้งนี้เนื่องจาก
มีการทบทวนความรู้เดิม และเพิ่มเติมความรู้ใหม่ แนวทางการรักษาใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพยาบาล
ที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง ที่ได้รับการสอนและสาธิตการใช้กล่องกันชัก
(PIH BOX) จึงมีความรู้เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
โดยพบว่าสอดคล้องกับระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นในหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการตรียมความพร้อมการสอบ
ใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุ ของนักศึกษาพยาบาล
มหาลัยสวนดุสิต (อนุรี ชาญธวัชชัย, 2560) โดยบุคคลเมื่อเกิดการเรียนรู้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางด้านความรู้
ความเข้าใจ ตลอดจนความคิด โดยจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาและสาระสิ่งใหม่ (Bloom, 1986: ใน นงเยาว์ ชิลวรรณ์
2559) ในส่วนสมรรถนะและทักษะก่อนและหลังใช้กล่องกันชัก(PIH BOX) ไม่แตกต่างกัน เนื่องจาก พยาบาล
ที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง ส่วนมากเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงาน
มากกว่า 10 ปี ซึ่งมีสมรรถนะและทักษะในการดูแลผู้คลอดได้ดีอยู่แล้ว หลังจากที่ได้รับการสอนและสาธิต