Page 296 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 296

G8

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบการพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้วยรูปแบบ 3C-PDSA โดยการดำเนินการ 3P
                  (Purpose/Process/Performance) สามารถอธิบาย ได้ดังต่อไปนี้

                         Context คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล มีอุปสรรคการเดินทาง โดยเฉพาะหน้า
                  มรสุมที่จะส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ เพิ่มต้นทุนทางอ้อมของการดำเนินงาน
                  ด้านสุขภาพทั้งในส่วนของผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และผู้ให้บริการ โรงพยาบาลสตูลจึงกำหนดให้การพัฒนารูปแบบ

                  บริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ เป็นกลยุทธที่สำคัญของยุทธศาสตร์ด้านระบบริการปฐม
                  ภูมิเข้มแข็ง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์โรงพยาบาลสตูล ตติยภูมิคุณภาพ ปฐมภูมิเข้มแข็ง ประชาชนไว้วางใจ
                         Core value คือ การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นปัจจัยที่สำคัญ
                  ของการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงาน
                  กระทรวงสาธารณสุขทุกคนต้องมีค่านิยม เรียนรู้สิ่งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันการพัฒนา

                  เทคโนโลยีสารสนเทศในต่างประเทศ ได้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล เข้ามาช่วยในการเพิ่มศักยภาพ
                  การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลหรือยากลำบากในการเดินทาง ส่งผลให้การพัฒนารูปแบบ
                  บริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล จะเป็นการพัฒนานวัตกรรมจากปัญหา

                  หน้างานสู่ระบบบริการรูปแบบใหม่ ผ่านกระบวนการเรียนรู้
                         Criteria คือ การพัฒนาบริการสุขภาพต้องมีการนำ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ มาใช้
                  เป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ขณะที่แพทย
                  สภาได้จัดทำประกาศว่าด้วยการให้บริการแพทย์ทางไกล เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมใช้

                  เป็นแนวทางในการตรวจรักษาผู้ป่วย ดังนั้นการพัฒนาการแพทย์ทางไกลต้องอาศัยมาตรฐานทั้ง 2 ระบบ เพื่อ
                  เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกล
                         ดังนั้นโดยสรุปการพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาล
                  สตูลจึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์ คือ

                         Purpose: พัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล
                  ที่รองรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพและประกาศการบริการการแพทย์ทางไกลของแพทยสภา
                  กิจกรรมการพัฒนา (Procress) ด้วยรูป PDSA สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
                  Plan: กิจกรรมการกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนา ประกอบไปด้วย

                         1) ศึกษามาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพในส่วนของตอนที่ 3 Care procress
                         2) ศึกษาประกาศการบริการการแพทย์ทางไกลของแพทยสภา
                  Do: กิจกรรมพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิ ประกอบไปด้วยการพัฒนา 5 ด้าน

                  ได้แก่
                         1) การกำหนดรูปแบบบริการที่มีมาตรฐาน
                         การกำหนดรูปแบบบริการที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานการบริการตามแนวทางมาตรฐาน
                  โรงพยาบาลและบริการสุขภาพของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)  ต้องคำนึงถึง
                  คุณภาพบริการที่มีความปลอดภัย โดยสามารถออกแบบรูปแบบบริการที่อ้างอิงจากตอนที่ 3 กระบวนการดูแล

                  ผู้ป่วย มาตรมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การ
                  มหาชน) โดยต้องมีการกำหนดรูปแบบบริการให้ชัดเจน เช่น กลุ่มผู้ป่วยคือใคร การเข้าการเข้าถึงและเข้ารับ
                  บริการทำอย่างไร การประเมินผู้ป่วยใช้แนวทางอะไร  การวางแผน การดูแลผู้ป่วย การให้ข้อมูลและการเสริม

                  พลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว การดูแลต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนัดผู้ป่วย หรือ การส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการที่สูง
                  กว่าทำอย่างไร  โดยโรงพยาบาลสตูลได้กำหนดกลุ่มผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังใน
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301