Page 34 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 34

A10


                       การพัฒนาระบบในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่ม NOACs

                                             โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์



                                                                                  เภสัชกรหญิงภารัตน์ วัฒนสมบัติ
                                                   โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นหนึ่งในการรักษาหลักที่สามารถป้องกันและรักษาการเกิดภาวะ
                  หลอดเลือดสมองอุดตัน หรืออัมพฤกต์/ อัมพาต (Ischemic stroke) ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือลิ่มเลือดอุดตัน
                  ในระบบอื่นของร่างกาย เช่น ปอด (Pulmonary embolism; PE) ซึ่งเป็นโรคหรือภาวะที่ส่งผลกระทบ

                  ต่อทางด้านสังคม และเศรษฐกิจตามมา ยาวาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด
                  ชนิดรับประทานที่มีใช้กันมานาน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค (vitamin K antagonist oral
                  anticoagulants: VKAs) แต่ด้วยข้อจำกัดของยาวาร์ฟารินจึงเกิดการพัฒนายากลุ่มใหม่ขึ้น โดยยากลุ่มนี้เป็นยา
                  ที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค (non-vitamin K antagonist oral anticoagulants; NOACs) และมีข้อดี

                  ที่เหนือกว่ายาวาร์ฟารินเช่น สามารถทำนายฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีกว่า ออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์เร็วกว่า
                  ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อปรับขนาดยาตามค่าการแข็งตัวของเลือด ขนาดที่ให้ผู้ป่วยรับประทาน
                  ในแต่ละวันเท่ากัน (fixed dose) และมีปัญหาอันตรกิริยากับยาอื่นหรือภาวะร่างกายค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ

                  ยาวาร์ฟารินเป็นต้น และในปัจจุบันมีข้อมูลการศึกษาที่ยืนยันว่า ยา NOACs มีประสิทธิภาพในการป้องกันการ
                  เกิด stroke และ systemic embolism ได้เทียบเท่าหรือดีกว่ายาวาร์ฟาริน และยา NOACs บางชนิดพบว่าทำ
                  ให้เกิด major bleeding เช่นเลือดออกในสมองน้อยกว่ายาวาร์ฟาริน แต่อย่างไรก็ตามยากลุ่ม NOACs อาจมี
                  ข้อจำกัด เช่น ราคายังค่อนข้างสูง การเข้าถึงยากลุ่มนี้ยังคงจำกัดในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถชำระเงินค่ายาได้เอง
                  หรือกลุ่มผู้ป่วยสิทธิการรักษาเบิกได้ หรือข้าราชการ อีกทั้งการใช้ยา NOACs ในผู้ป่วย AF ที่มีการทำงานของ

                  ลิ้นหัวใจผิดปกติ (rheumatic mitral valve disease) และ/หรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม (mechanical
                  heart valve prosthesis) รวมถึงผู้ป่วยไตบกพร่องรุนแรงหรือผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตยังคงเป็นข้อจำกัด
                  และห้ามใช้

                         ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่ม NOACs มีเพิ่มขึ้น และมีบทบาทมาก
                  ในการนำมาใช้แทนยารุ่นเก่าอย่างยาวาร์ฟาริน อย่างไรก็ตามยากลุ่ม NOACs ยังคงเป็นยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการ

                  แข็งตัวของเลือด ซึ่งตามนิยามของ Institute of Safe Medication Practices (ISMP) ยังคงจัดเป็นยา
                  ที่มีความเสี่ยงสูง (high alert medications) เนื่องจากอาจมีอันตรายซึ่งอาจร้ายแรงได้เมื่อใช้ทางคลินิก

                         ด้วยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดจากยากลุ่ม NOACs ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่น่าจะป้องกันได้ (Preventable
                  adverse drug events) จึงมีแนวคิดที่จะศึกษา และพัฒนาระบบในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัว

                  ของเลือดกลุ่ม NOACs ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา
                  ป้องกันปัญหาการสั่งใช้ยา NOACs ที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยทั้งในแง่ข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม การสั่งใช้ยา
                  ในผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต การสั่งใช้ยาที่มีอันตรกิริยากับยา รวมถึงป้องกันความเสี่ยง
                  ต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาหากผู้ป่วยต้องทำหัตถการบางอย่าง เช่นถอนฟัน ผ่าตัด หรือสลายนิ่ว

                  เป็นต้น
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39