Page 316 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 316
G28
แผนภูมิเปรียบเทียบความดันโลหิตเฉลี่ยเมื่อวัดที่สถานพยาบาลและวัดด้วยตนเอง
160
140
120 149.6 138.47
100
80 OfficeBP
60 78.33 76.78 SelfBP
40
20
0
SystolicBP DiastolicBP
OfficeBP 149.6 78.33
SelfBP 138.47 76.78
5.อภิปรายผล
ความดันโลหิตสูงในห้องตรวจ คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่วัดความดันที่โรงพยาบาลมีค่าสูงกว่า
เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านหรือนอกสถานบริการสาธารณสุข ความชุกที่พบภาวะนี้พบได้ตั้งแต่ร้อยละ 19 –
30 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จากการศึกษานี้พบความชุกเป็น ร้อยละ 34.8 สาเหตุคาดว่าเกิดจาก ภาวะ
วิตกกังวล ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเพศหญิง เป็นต้น การที่สามารถแยกผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในห้องตรวจ
ได้ จะช่วยลดการใช้ยาลดความโลหิตสูง ลดภาระการกินยาของผู้ป่วย ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา
และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอีกด้วยการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง นอกจากให้ค่าระดับความดัน
โลหิตที่แม่นยำแล้ว ยังเป็นการสะท้อนกลับให้ผู้ป่วยทราบสภาวะของโรคด้วยตนเอง (Biofeedback) ผู้ป่วย
สามารถเป็นผู้จัดการโรคของตนเองได้
6.สรุปและข้อเสนอแนะ
-ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถปรับการ
รักษาโดยใช้/ไม่ใช้ ยาได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันโลหิต 140-
150 / 85-90 mmHg พบภาวะความดันโลหิตสูงในห้องตรวจมากที่สุด
-ควรมีการติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในห้องตรวจอย่างต่อเนื่อง
-มีแผนพัฒนาค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตในห้องตรวจ เพื่อสามารถทราบ
ประชากรกลุ่มเสี่ยง (Population at risk)