Page 317 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 317
G29
ครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลายเพราะไลน์หมอครอบครัว
นายวีระศักดิ์ อุดมดี
รพ.สต.หนองอ้ม อ.ทุ่งศรีอุดม จ.อุบลราชธานี เขตสุขภาพที่ 10
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคไข้เลือดออก คือปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ตำบลหนองอ้ม อ.ทุ่งศรีอุดม จ.อุบลราชธานี
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา(2560-2565) พบว่ามีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกเกินเกณฑ์ที่กำหนด(50ต่อแสน
ประชากร) ทุกปี ปัจจัยที่มีความสำคัญส่งผลต่อการเกิดโรค คือแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน
โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน จะเน้นให้ทุกครัวเรือนดำเนินการตามหลักการ 5 ป.
( ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ )และมาตรการ 3 เก็บ3โรค(เก็บน้ำ เก็บขยะ เก็บบ้าน) เป็นประจำเพื่อ
ตัดวงจรการเกิดโรค โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประจำคุ้มจะทำหน้าที่สำรวจและเฝ้าระวังค่าความ
ชุกของลูกน้ำยุงลาย(HI/CI) ในครัวเรือนที่รับผิดชอบเป็นประจำทุกสัปดาห์(ทุกวันศุกร์ )
จาการการประชุมกลุ่ม สอบถาม สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วม
ในการป้องกันโรคหรือการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายเท่าที่ควร เพราะเชื่อว่าการกำจัดลูกน้ำยุงลายว่า
เป็นหน้าที่ของ อสม. ประชาชนบางคนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของอสม. และบางส่วนเชื่อว่าโรคไข้เลือดออก
ไม่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต จึงไม่สนใจที่จะให้ความร่วมมือในการป้องกัน
ดังนั้นผู้ศึกษาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของรพ.สต.หนองอ้ม จึงใช้
แนวคิดหลักการระบบบริการปฐมภูมิ ของรพ.สต. และหลักนโยบาย 3 หมอ (อสม. /หมอครอบครัว/หมอ รพ.)
ดำเนินการสื่อสารชุดความรู้หมอครอบครัว (ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถ
แห่งตน)กับครัวเรือนที่มีความเสี่ยงสูง ผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ของอสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือนนั้น เพื่อให้
คำแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และนำไปสู่ปรับพฤติกรรมในการป้องกันโรค พร้อมทั้ง
ติดตามประเมินผลความสำเร็จ โดยคณะกรรมการเครือข่ายป้องกันโรคระดับชุมชนต่อไป
นิยามเฉพาะ
1.ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงสูง หมายถึงครัวเรือนที่อสม.ตรวจพบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้าน
เกินร้อยละ30ขึ้นไป
2.การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ หมายถึง การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความ, ภาพ, วิดีโอและเสียง และการ
สนทนา
3.ชุดความรู้หมอครอบครัว หมายถึง เนื้อหาสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ป. และ
มาตรการ 3 เก็บ3โรคโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถแห่งตน
4.หมอครอบครัว หมายถึง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรพ.สต.ที่แต่งตั้งให้กำกับดูแลระบบบริการปฐม
ภูมิของตามคำสั่ง รพ.สต.
5.การประเมินผลความสำเร็จ หมายถึง การครัวเรือนที่สื่อสารกับหมอครอบครัวดำเนินการแก้ไข และ
ตรวจภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้าน ไม่เกินร้อยละ10 ระยะเวลาประเมินผลความสำเร็จ 4 ครั้ง
ติดต่อกัน