Page 334 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 334
H14
โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากกลุ่มวัยทำงานแบบบูรณาการ
ในสถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี ปี 2565 - 2566
ทันตแพทย์กฤตนันท์ บุบผาชื่น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
กลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มวัยที่เป็นช่องว่างใหญ่ของการจัดระบบบริการ ด้วยแนวคิดเดิมที่ว่า
เป็นกลุ่มที่พึ่งพาตนเองได้ มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพและเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสม หากแต่ข้อมูล
Health Data Center ปี ๒๕๖๔ พบว่ากลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มวัยที่มีอัตราการใช้บริการทันตกรรมในรอบ ๑ ปี
ค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ ๒๒.๓ วัยทำงานยังคงมีปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมส่งผล
ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ได้แก่ Covid-19 ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มือเท้าปาก โดยเฉพาะ
ในสถานประกอบการ ซึ่งน่าจะมีการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพให้กับพนักงาน ตลอดจนถึงการดูแลพนักงาน
ด้านความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ อาชีวอนามัย อาหารปลอดภัย ฯลฯ โครงการพัฒนารูปแบบ
การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากกลุ่มวัยทำงานแบบบูรณาการในสถานประกอบการต้นแบบ จังหวัดสระบุรี
ปี 2565 – 2566 ภายใต้แผนงาน “ผู้ใหญ่ฟันดี ครอบครัวสุขภาพดี สังคมมีสุขภาวะ” โดยมุ่งหวังให้เกิด
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแบบบูรณาการไปกับกิจกรรมNCDs ภายใต้
มาตรการ Covid Free Setting ด้วยแนวทาง VUCA เพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแบบบูรณาการ
ในสถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายสุขภาพในการดำเนินงานแบบบูรณาการ
ในกลุ่มวัยแรงงานในสถานประกอบการ ได้แก่ ทันตบุคลากร กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ กลุ่มงานควบคุมโรค
ไม่ติดต่อ และกลุ่มงานอาชีวอนามัย โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มวัยทำงานมีศักยภาพและความสามารถในการดูแล
สุขภาพช่องปากของตนเอง (Self care) และการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก (Access to Care)
เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการทั้ง ๒ แห่ง มีการกำหนดนโยบายการดูแลสุขภาพ
ช่องปากพนักงานแบบบูรณาการไปกับกิจกรรมNCDs ภายใต้มาตรการ Covid Free Setting ด้วยแนวทาง
VUCA และมีการจัดระบบบริการทันตกรรมแก่พนักงานของสถานประกอบการเป้าหมาย
2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายด้านสุขภาพในการดำเนินงานแบบบูรณาการในกลุ่มวัยแรงงาน
ในสถานประกอบการและมีแกนนำสุขภาพ (Health Leader)ในสถานประกอบการต้นแบบ
3. เพื่อให้พนักงานมีสมรรถนะในการดูแลตนเองและสามารถประเมินสุขภาพของตนเองตั้งแต่ระยะ
เริ่มแรกและเข้ารับบริการ ส่งเสริม ป้องกันโรค รักษาเพื่อลดการสูญเสียฟัน
วิธีดำเนินงาน
ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ (4 เดือน : มี.ค – มิ.ย 2565)
1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่HRหรือจป.จากสถาน
ประกอบการ ๒ แห่ง