Page 335 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 335
H15
1.2 ประชุมอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจตรงกันแก่ทีมทำงานเครือข่ายสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
Covid Free Setting ตามแนวทางVUCA และการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ , NCDs(เบาหวาน ความดันโลหิต
สูง) App Health4U , อาชีวอนามัย(Clean Food Good Taste การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน) และทันตสุขภาพ (ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก, แนวทางการ
ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในสถานประกอบการแบบบูรณาการ , การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมไม่เสี่ยงต่อการ
เกิดโรคในช่องปาก) รวมทั้งการสรรหาแกนนำสุขภาพในแต่ละสถานประกอบการเพื่อดำเนินงานแบบบูรณาการ
ระยะที่ 2 ระยะขับเคลื่อนในสถานประกอบการ (12 เดือน : ก.ค 2565 – ก.ค 2566)
2.1 จัดอบรมพนักงานที่เป็นแกนนำสุขภาพ(Health Leader)ในสถานประกอบการ 2 แห่งๆละ 25 คน ใน
หัวข้อดังนี้
* Covid Free Setting ตามแนวทาง VUCA และการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ
* NCDs (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) การใช้App Health4U และการประเมินความเสี่ยง
* อาชีวอนามัย(Clean Food Good Taste ,การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ)
* ทันตสุขภาพ(คัดกรองทันตสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทันตสุขภาพ การใช้บริการทันตกรรม)
2.2 สถานประกอบการจัดกิจกรรมมหกรรมรณรงค์สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ สถานประกอบการละอย่างน้อย 1 ครั้ง
ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล (2 เดือน : ส.ค – ก.ย 2566)
3.1 จัดเวทีศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และมอบใบประกาศ
เกียรติคุณแก่แกนนำสุขภาพ (Health Leader) และสถานประกอบการต้นแบบ 2 แห่ง
3.2 เก็บรวบรวมข้อมูล ลงบันทึก วิเคราะห์ แปรผล และสรุปผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
รูปแบบของการอบรมแกนนำสุขภาพ หรือ Health leader ในสถานประกอบการทำให้แกนนำสุขภาพ
มีความรู้และพฤติกรรมในภาพรวมที่ดีขึ้นทั้งด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง , ด้านโรคติดต่อ , ด้านความปลอดภัย
อาหาร และด้านสุขภาพช่องปาก โดยแกนนำมีความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ การดูแลตนเอง และ
การเข้าถึงบริการสุขภาพ สามารถถ่ายทอดไปยังพนักงานในสถานประกอบการ ผ่านการจัดกิจกรรมมหกรรม
สุขภาพ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในสถานประกอบการไปพร้อมกันได้อย่างดี
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรขยายเครือข่ายครอบคลุมทั้งพนักงานและครอบครัวให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ เพื่อหวัง
ผลให้วัยทำงานเสาหลักของสังคม มีความสุข เป็นพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
2. เพิ่มรูปแบบการพัฒนาด้านสุขภาพ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหน่วยงาน ตลอดจนการนำไปพัฒนา
ต่อในชุมชนของสถานประกอบการได้
3. Health Leaderควรมีการอบรมเพิ่มเติม เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับพนักงาน ครอบครัว ชุมชน