Page 332 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 332
H12
อุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย
นางสาวภัทรวดี คำโตนด และ ทันตแพทย์หญิงสุขิตา โสวิทยสกุล
โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ (Poster)
ความสำคัญของปัญหา
จากการรวบรวมบัญชีความเสี่ยงทางทันตกรรมที่เฝ้าระวังพบว่า ความเสี่ยงที่หากเกิดขึ้นแล้ว
ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย คือ การถูกของมีคมหรือเข็มที่ใช้แล้วทิ่มตำ เนื่องจากมีโอกาส
รับเชื้อโรคจากผู้มารับบริการได้ ซึ่งการทำงานของทันตบุคลากรมีความเกี่ยวข้องกับเข็มฉีดยา และมีความถี่
ในการใช้ในแต่ละวัน จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการโดนเข็มฉีดยาทิ่มตำ สำหรับการผลิตอุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยา
ในทางการแพทย์เคยมีการผลิตขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงของบุคลากร แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้
ในทางทันตกรรมได้เพราะเข็มที่ใช้ฉีดยาชาในทางทันตกรรมมีข้อต่อเป็นแบบเกลียวหมุนเข้าหมุนออก
และค่อนข้างยึดติดกับเกลียวของ syringe ทำให้ถอดยาก ทันตบุคลากรต้องใช้มือหมุนเกลียวออกเพื่อถอดเข็ม
ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกเข็มฉีดยาทิ่มตำ และอุปกรณ์ที่ถอดเข็มฉีดยาชาทางทันตกรรม ยังไม่มีผลิตออกมา
จำหน่าย
ดังนั้น กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง จึงมีแนวคิดพัฒนาอุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่ายขึ้น
เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการโดนเข็มฉีดยาทิ่มตำ และลดความวิตกกังวลในการปฏิบัติงานของบุคลากร
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้งานอุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย
วิธีการศึกษา
1. วิธีการผลิตอุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาชาอย่างง่าย โดยนำอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้า (Adapter)
ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า(Motor) ทดรอบเชื่อมกับแกนเหล็กเพื่อเป็นตัวยึดปลอกเข็มฉีดยาชา จากนั้นต่อสายไฟและ
Foot Switch เพื่อทำหน้าที่ปิด-เปิดเวลาใช้งาน ติดตัวจับเข็มและแกลลอนเปล่าสำหรับทิ้งเข็ม ติดตัวยึดชิ้นงาน
กับขอบโต๊ะ ราคาวัสดุรวม 630 บาท
หลักการทำงานของเครื่อง เสียบปลั๊กไฟ เหยียบ Foot Switch เพื่อเปิดเครื่องให้มอเตอร์ทำงาน
แกนเหล็กที่เชื่อมต่อกับมอเตอร์จะหมุนและถอดปลอกเข็มฉีดยาชาออกจาก syringe หลังจากนั้นนำเข็มฉีดยา
ทิ้งลงแกลลอนพลาสติก
ตัวยึดปลอกเข็ม ตัวเชื่อมชิ้นงานกับขอบโต๊ะ
Syringe Motor
ภาชนะส าหรับใส่เข็ม
Foot Switch