Page 330 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 330
H10
3. นำนวัตกรรมมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือผู้มารับบริการทันตกรรมที่มีฟันแท้ อ่านออกเขียนได้ และ
มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ จำนวน 30 คน ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง เดือนมกราคม
2567 ถึงมีนาคม 2567 โดยมีขั้นตอน ดังนี้
3.1 สอบถามข้อมูลการอ่านและการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและขอความยินยอม
ในการใช้นวัตกรรม
3.2 ตรวจฟัน บันทึกผลการตรวจฟันแต่ละซี่ สอบถามประวัติการรับบริการทันตกรรม
แต่ละซี่ และบันทึกผลลงนวัตกรรมและข้อมูลออนไลน์
คิวอาร์โค้ดตัวอย่างข้อมูลที่แสดงบนออนไลน์
3.3 อธิบายการใช้งานนวัตกรรมและสอบถามความรู้ความเข้าใจเนื้อหาในนวัตกรรม
โดยการสัมภาษณ์
3.4 ให้ผู้ใช้ประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ
แบ่งความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ ตามแบบมาตราวัดของลิเคอร์ท (Likert Scale) คือ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
3.5 ประเมินผลและสรุปผลการใช้นวัตกรรมและวางแผนพัฒนานวัตกรรมต่อไป
ผลการศึกษา
1 ผู้มารับบริการทันตกรรมที่คลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลางมีเอกสาร
บันทึกช่องปากประจำตัว จำนวน 30 คน
2 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจจากการสัมภาษณ์หลังการใช้งานนวัตกรรม พบว่า ผู้ใช้งาน
มีความรู้และความเข้าใจฟันในช่องปากตัวเองเพิ่มมากขึ้นหลังใช้งานนวัตกรรม ร้อยละ 100.00
3 ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.67
อายุช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 36.67 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.00 มีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมด้านต่างๆ
ตามหัวข้อดังรูป ดังนี้
ตารางแสดงร้อยละความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมกระดาษแผ่นเดียวรู้จักฟันตัวเองทั้งปาก