Page 333 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 333
H13
2. ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2566 -มกราคม 2567
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.1 การประเมินความรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน ประเมินจากผู้ใช้นวัตกรรมอุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยา
อย่างง่าย จำนวน 10 ราย โดยให้ผู้ใช้นวัตกรรมให้คะแนนภายหลังจากทดลองใช้อุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย
เกี่ยวกับความรู้สึกปลอดภัยจากการโดนเข็มฉีดยาทิ่มตำระหว่างถอดเข็มฉีดยาโดยกำหนดคะแนน 1-10
3.2 การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้อุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย จำนวน 10 ราย
โดยกำหนดคะแนนความพึงพอใจ 1-10
ผลการศึกษา
1. คะแนนค่าเฉลี่ยความรู้สึกปลอดภัยจากการทำงาน เท่ากับ 9.5 รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น โดยให้เหตุผล
ว่า สามารถลดความเสี่ยงต่อการถูกเข็มตำได้จริง , ไม่ต้องใช้มือสัมผัสขณะถอดเข็มจาก syringe และ
ค่าเฉลี่ย 0.4 รู้สึกไม่แตกต่าง โดยให้เหตุผลว่า ถึงแม้ถอดด้วยมือก็จะระมัดระวังอยู่แล้ว ไม่รู้สึกว่าตนเอง
เสี่ยงต่อการถูกเข็มทิ่มตำ
2. คะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้อุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย เท่ากับ 9.1 มีความพึงพอใจ
ต่อการใช้อุปกรณ์ถอดเข็มฉีดยาอย่างง่าย โดยให้เหตุผลว่า ลดความเสี่ยงต่อการถูกเข็มฉีดยาทิ่มตำ , ใช้ง่าย,
สะดวกและรวดเร็ว เป็นต้น และคะแนนค่าเฉลี่ย 0.9 โดยให้เหตุผลว่า หากพัฒนาเป็นการกดปุ่มน่าจะ
สะดวกขึ้น
อภิปรายผล
การศึกษาผลการใช้อุปกรณ์ถอดเข็มอย่างง่าย พบว่าสามารถใช้ถอดเข็มฉีดยาได้โดยลดการใช้มือสัมผัส
เข็ม ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการถูกเข็มทิ่มตำ ส่งผลให้ทันตบุคคลากรผู้ใช้อุปกรณ์ถอดเข็มอย่างง่ายมีความรู้สึก
ปลอดภัยจากการทำงานเพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งนวัตกรรมถอดเข็มฉีดยาอย่างง่ายมีจุดเด่น คือ
สามารถประกอบขึ้นมาใช้งานเองได้ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อนวัสดุมีขายทั่วไป ระบบการใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน
น้ำหนักเบาพกพาสะดวกเหมาะแก่การใช้ในโรงพยาบาลและนำไปใช้ออกหน่วย และราคาประหยัด
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
1. พัฒนาต่อยอดให้เข็มตกลงในแกลลอนโดยไม่ต้องใช้ตัวจับ
2. ปรับจากการใช้สวิตซ์เท้าเป็นกดปุ่มตั้งเวลา