Page 37 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 37

A13


                       การพัฒนาแนวทางในการส่งผู้ป่วยช่องทางด่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
                             ชนิด STEMI (STEMI Fast Track) เพื่อการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ

                                                 ผ่านสายสวน (Primary PCI)


                                                          นางประภาพร  นามวงศ์ และนางสาวชนากานต์  อนันตริยกุล
                                                        โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี เขตสุขภาพที่5
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                           โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกสูง (STEMI) เป็นกลุ่มโรคสำคัญของจังหวัด
                  กาญจนบุรี เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสำคัญ ของประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี (เฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด
                  อัตราตาย 32.99 ต่อแสนประชากร ปี 2565 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี, 2565) จากข้อมูลสถิติ

                  โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ในปี 2564-2566 จังหวัดกาญจนบุรีมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
                  จำนวน 222, 258 และ 264 รายโรค STEMI เกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญ คือ การอุดตันของหลอดเลือด
                  ที่ไปเลี้ยงหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษาที่สำคัญคือการเปิดหลอดเลือดเพื่อให้เลือดได้ไปเลี้ยง

                  กล้ามเนื้อหัวใจได้เร็วที่สุด เพื่อลดการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจและลดอัตราตายของผู้ป่วย
                              ในกระบวนการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่สำคัญคือการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดให้ได้ตามมาตรฐาน
                  คือ ภายในเวลา 30 นาที หรือการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (percutaneous coronary
                  intervention: PCI) ภายในเวลา 120 นาที หลังจากได้รับการวินิจฉัยจากการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งปัจจุบัน
                  โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ได้มีการเปิดศูนย์โรคหัวใจ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 และมีการให้บริการ

                  PCI แก่ผู้ป่วย ครอบคลุมพื้นที่ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย ในแต่ละ
                  เดือนจะมีผู้ป่วย STEMI ที่ส่งต่อ มาจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีโรงพยาบาล 7 แห่ง
                  ที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ไม่เกิน 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ไม่เกิน 60 นาที เป็นกลุ่ม

                  ผู้ป่วยที่สามารถได้รับการทำ PCI ภายใน 120 นาที ตามมาตรฐานตัวชี้วัด โดยไม่ต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
                  จึงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย  STEMI  เพื่อให้มีการเข้าถึงการเปิดขยายหลอดเลือด
                  ภายในเวลา 120  นาทีตามเกณฑ์ตัวชี้วัด

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           1. เพื่อให้สามารถนำส่งผู้ป่วย STEMI เพื่อทำ Primary PCI ได้ทันเวลาและปลอดภัย

                              2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีแนวทางในการนำส่งผู้ป่วย STEMI เพื่อทำ Primary PCI

                  วิธีการศึกษา
                           เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (research and development) มีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
                           1. ทบทวนข้อมูลและปัญหา การทบทวนข้อมูลในการดูแลผู้ป่วย STEMI Fast Track โดยการศึกษา
                  ถึงระยะทางและเวลาในการส่งต่อผู้ป่วย จากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี ถึงโรงพยาบาลพหล

                  พลพยุหเสนา และประชุมปรึกษากับผู้ที่มีส่วนร่วม ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่สามารถนำส่งผู้ป่วย
                  STEMI มาถึงโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาได้ภายในเวลา 60 นาที  ได้แก่ กลุ่มงาน PCT อายุรกรรม
                  ศูนย์โรคหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย พยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42