Page 38 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 38

A14


                  1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 14 แห่งในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย STEMI โดยใช้
                  วิธีการสนทนากลุ่ม (focus group discussion)
                           2. ศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI เสนอต่อ
                  ประธานทีมพัฒนาคุณภาพหัวใจและหลอดเลือด (Service Plan STEMI) เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ วิธีการ

                  ดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการ
                              3. จัดตั้งคณะกรรมการ จัดทำเรื่องการพัฒนาแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ
                  Primary PCI ดังนี้
                             3.1 กำหนดพื้นที่ในการส่งผู้ป่วยในระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร

                             3.2 มีระบบ consult EKG ผ่าน Heart coordinator ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                             3.3 มีการเตรียมผู้ป่วยเพื่อทำ Primary PCI ตั้งแต่โรงพยาบาลต้นทาง
                             3.4 มีการประสานงานกันระหว่างส่งต่อผู้ป่วยกับศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา และ
                  Heart coordinator

                             3.5 เมื่อเดินทางถึงโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ส่งผู้ป่วยที่ศูนย์โรคหัวใจ ตึก ญสส. ชั้น 4
                  (โดยเจ้าหน้าที่ และพนักงานขับรถที่มาส่งผู้ป่วย) โดยไม่ต้องผ่านห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
                           4. หลังจัดทำการพัฒนาแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI แล้วเสร็จ
                  ขั้นตอนนี้ จะนำแนวทางที่จัดทำขึ้น  มาปรึกษากับกลุ่มงาน PCT อายุรกรรม ศูนย์โรคหัวใจ กลุ่มงาน

                  การพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เพื่อกำหนดรูปแบบ
                  ที่สะดวกและเหมาะสมในการปฏิบัติงานและเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเป็นไปได้ก่อนที่จะนำไป
                  ปฏิบัติจริง
                           5. ประชุมชี้แจงถึงวิธีการใช้แนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI  ให้แก่

                  พยาบาลในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรี
                  ที่มีส่วนในการดูแลผู้ป่วย STEMI  โดยมีแผน flow hart ในการปฏิบัติงานให้กับทุกโรงพยาบาล
                              6. เริ่มนำแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI ไปใช้จริง ให้หน่วยงาน

                  และโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่มีผู้ป่วย STEMI ที่จะส่งทำ Primary PCI ปฏิบัติตาม  ในช่วงนี้ถ้าเกิดปัญหาให้ปรึกษา
                  ผู้เสนอแนวคิดได้ตลอด โดยทางผู้เสนอแนวคิด จะได้นำปัญหาไปปรึกษากับกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำ
                  การแก้ไข และเก็บรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
                              7. สรุปผลการปฏิบัติงานหลังจากใช้แนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary
                  PCI  4 สัปดาห์ จะมีการประชุมสรุปผล ปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงาน ข้อดี ข้อเสีย รวมถึงความพึงพอใจ

                  ของผู้ใช้เพื่อที่จะได้นำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI
                  ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                           8. วัดผลการนำแนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI ไปใช้ด้วย การเก็บ

                  ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการทำPrimary PCI ภายในเวลา 120 นาที เปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ป่วยระหว่างระยะ
                  ก่อนและหลังใช้แนวทาง วิเคราะห์โดยใช้สถิติ chi-square test

                  ผลการศึกษา
                           ผลการศึกษาพบว่า ระยะก่อนใช้แนวทาง (เดือนมิถุนายน - กันยายน 2566) มีผู้ป่วยที่ได้รับการทำ
                  Primary PCI ภายในเวลา 120 นาที จำนวน  6 ราย จากทั้งหมด 19 ราย (ร้อยละ 31.58) และหลังใช้แนวทาง

                  แนวทางในการส่งผู้ป่วย STEMI Fast Track เพื่อทำ Primary PCI (เดือนพฤศจิกายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43